ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 31

Main Article Content

สุชาดา ไพอนนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยเชิงสาเหตุและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31  2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงสาเหตุที่สร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 จำนวน 300 คน โดยวิธีการสุ่มแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่น แบบทดสอบวัดความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น แบบวัดเจตคติต่อวิชาภาษาญี่ปุ่น แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แบบวัดความตั้งใจเรียน แบบวัดอัตมโนทัศน์เกี่ยวกับตนเอง แบบวัดคุณภาพการสอนของครู และแบบวัดความเอาใจใส่ของผู้ปกครอง ซึ่งแบบวัดมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .84, .92, .79, .71, .72, .65, .75 และ .81 ตามลำดับ และความรู้พื้นฐานเดิมวัดจากเกรดเฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.55 ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เส้นทางด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป


ผลการศึกษา พบว่า


  1. ระดับปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ปัจจัยส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ คุณภาพการสอนของครู มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 รองลงมาคือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เจตคติต่อวิชาภาษาญี่ปุ่น อัตมโนทัศน์เกี่ยวกับตนเอง และความเอาใจใส่ของผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.67, 3.60, 3.58 และ 3.53 ตามลำดับ

ความตั้งใจเรียนมีค่าเฉลี่ย 3.38 อยู่ในระดับปานกลาง ความรู้พื้นฐานเดิมมีค่าเฉลี่ย 3.55 อยู่ในระดับมากที่สุด ความถนัดทางการเรียนภาษาญี่ปุ่น มีค่าเฉลี่ย 12.23 อยู่ในระดับมาก และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าเฉลี่ย 19.21 อยู่ในระดับปานกลาง


  1. โมเดลความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่นมากที่สุด คือ ความรู้พื้นฐานเดิม รองลงมา คือ ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น ด้วยขนาดน้ำหนักความสำคัญเท่ากับ .67 และ .18 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่นมากที่สุด คือ คุณภาพการสอนของครู รองลงมา ได้แก่ อัตมโนทัศน์เกี่ยวกับตนเอง และความรู้พื้นฐานเดิม ด้วยขนาดน้ำหนักความสำคัญเท่ากับ 2.33 , .65 และ .06 ตามลำดับ โดยปัจจัยเชิงสาเหตุทั้งหมดสามารถร่วมอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้ร้อยละ 67 และโมเดลความสัมพันธ์พิจารณาจากค่า  Chi-Square = 12.23, df = 15, P = .66, GFI = .99, AGFI = .97 และ RMSEA = .00

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กรวิภา สวนบุรี. (2546). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์
การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
กฤษฎา ศรีพานิชย์. (2546). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด
สกลนคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จิตติพร เชื้อบัณฑิต. (2553). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1.
วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เจแปนฟาวน์เดชั่น. (2553). ผลการสำรวจสถาบันสอนภาษาญี่ปุ่นในต่างประเทศประจำปี 2009.
ตะวัน. ปีที่ 11 ฉบับที่ 52 พฤศจิกายน 2553 หน้าที่ 1-3.
ณุกูล ยิ้มศิริ. (2546). ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจในการเรียนภาษาญี่ปุ่นในสถาบันการศึกษาเอกชน
กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ภักดิ์วิภา สมเพ็ง. (2558). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ยุพิน ประทุมมี. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่นในการเรียนแบบ
รวมกลุ่มผู้เรียนที่มีระดับความรู้พื้นฐานต่างกัน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาญี่ปุ่นศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วนิดา ดีแป้น. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยโดยการวิเคราะห์พหุระดับ.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). ค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนการสอบ GAT/PAT. [ออนไลน์].
แหล่งที่มา : ttp://www.niets.or.th/uploads/content_hpdf/gatpat1_2558.pdf
[22 กุมภาพันธ์ 2558].
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2556). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นและภาษาเยอรมัน.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
สุวพรรณ ครุฑเมือง. (2544). การศึกษาพฤติกรรมการเรียนภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นใน
มหาวิทยาลัยไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาญี่ปุ่นศึกษา คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อัจฉรา อึ้งตระกูล. (2552). ปัญหาการศึกษาภาษาญี่ปุ่นเป็นวิชาเอกของมหาวิทยาลัยในเขตภาคเหนือ
ของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาต่างประเทศ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Boom, Benjamin S. (1976). Human Characteristic and School Learning. New York :
McGraw-Hill Book Company.
Carroll, John B. (1963). A Model of School Learning. Teacher College Record.
Vol. 64 No. 8 : 723-733.
Good, Tomas L. (1983). Classroom Research : A Decade of Progress. Education Psychologist.
Vol. 18 No. 3 : 127-144.