การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ชุดการเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้และ การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ศิริวรรณ สาธุพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)พัฒนาชุดการเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้และเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2ที่เรียนด้วยชุดการเรียนที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้และจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2ที่เรียนด้วยชุดการเรียนที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้และที่จัดการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทำวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนกันทรารมณ์ อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 2 ห้องที่มีผลการทดลองไม่แตกต่างกันและการจะให้ห้องใดใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้หรือใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานนั้นให้เป็นไปโดยการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) ด้วยวิธีจับสลากได้จำนวน 2 ห้องคือชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10 จำนวน 38 คนจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/11 จำนวน 38 คนจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย1)ชุดการเรียน 2)แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้และแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน3)แบบทดสอบ วัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน30ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก(p) ตั้งแต่0.29ถึง0.64และค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่0.41ถึง0.80และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.955 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก ตั้งแต่0.34ถึง0.68 และค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.40 ถึง 0.80 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ0.914 สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย() ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) การทดสอบt–test (Dependent Samples) และ t–test (Independent) พบว่า 1) ชุดการเรียนที่เรียนด้วยการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้และเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานมีประสิทธิภาพสูงกว่า75/75 2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของกลุ่มที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่ากลุ่มที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.013) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของกลุ่มที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่ากลุ่มที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กรมวิชาการ. (2546). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
กรุงเทพมหานคร: กรมวิชาการฝึกหัดครู.
โกวิทย์ ประวาลพฤกษ์. (2542). รูปแบบการสอนคิด ค่านิยม จริยธรรมและทักษะ.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2548). วิธีวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป. กรุงเทพมหานคร : บริษัท
พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พ.ว.) จำกัด
ภพ เลาหไพบูลย์. (2542). แนวการสอนวิทยาศาสตร์(พิมพ์ครั้งที่ 3)กรุงเทพมหานคร : ไทย
วัฒนาพาณิชย์
มนัสชนก อุดมดี. (2550). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดย
กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขา
หลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
ศุภาภรณ์ แก้วเถื่อน. (2558).การพัฒนาชุดการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้(5E)วิชาเคมี 4 เรื่อง
อุตสาหกรรมแร่.วิทยานิพนธ์ กศ.ม. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฎ
นครศรีธรรมราช.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2551).หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 .
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่ม
วิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันฯ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). การอบรมครูระบบทางไกล.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค.
สุวจี ทีทา. (2549). เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ ความพึงพอใจต่อวิธีสอนและผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ที่ได้รับการสอนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานกับการสอนปกติ. วิทยานิพนธ์
การศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน) มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ถ่ายเอกสาร.
สุธารพิงค์ โนนศรี. (2550). การคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้. วิทยานิพนธ์ศึกษา
ศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น. ถ่ายเอกสาร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 28. (2557). รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้น
พื้นฐาน O-NET สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 28 : ศรีสะเกษ:
ถ่ายเอกสาร.
อรุณี สายวงศ์. (2547). การเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้กับการสอน
ตามแนวสสวท. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.