การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนของตำบลสวายปรอเตียล อำเภอสะอาง จังหวัดกันดาล ราชอาณาจักรกัมพูชา

Main Article Content

Phang Kosal

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมและเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนในการพัฒนาชุมชนของตำบลสวายปรอเตียล อำเภอสะอาง จังหวัดกันดาล ราชอาณาจักรกัมพูชา จำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษา


                  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนในการมีส่วนร่วมของประชาชนในตำบลสวายปรอเตียล อำเภอสะอาง จังหวัดกันดาล ราชอาณาจักรกัมพูชาจำนวน 375 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) แต่ละชั้นภูมิสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายตามสัดส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับแบบของ Likert จำนวน 26 ข้อ มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .85


                  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t (t-test) และ F (F-test)


                ผลวิจัยพบว่า


1) ระดับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตำบลสวายปรอเตียล อำเภอสะอาง จังหวัดกันดาล ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยภาพร่วม และรายด้าน อยู่ในระดับมาก


 2)  การเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชานต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของประชาชนในตำบลสวายปรอเตียล อำเภอสะอาง จังหวัดกันดาล ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยจำแนกตาม เพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษา จำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษา เปรียบเทียบได้ดังนี้


                        2.1 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของประชาชนในตำบลสวายปรอเตียล อำเภอสะอาง จังหวัดกันดาล ราชอาณาจักรกัมพูชา จำแนกตามเพศ โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 


                        2.2 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของประชาชนในตำบลสวายปรอเตียล อำเภอสะอาง จังหวัดกันดาล ราชอาณาจักรกัมพูชา จำแนกตามอายุ โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน


                         2.3 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของประชาชนในตำบลสวายปรอเตียล อำเภอสะอาง จังหวัดกันดาล ราชอาณาจักรกัมพูชา จำแนกตามอาชีพ โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน


                          2.4 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของประชาชนในตำบลสวายปรอเตียล อำเภอสะอาง จังหวัดกันดาล ราชอาณาจักรกัมพูชา จำแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กระทรวงมหาดไทย. (2554). สานักงานการข้าเข้าข้าออกเดียว “One Windows Services Office”.
พนมเปญ : กรมส่งเสริมกิจการท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.
โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
คณะกรรมการแห่งชาติเพื่อการพัฒนา. (2554). นโยบายแห่งชาติสาหรับการพัฒนา
ตามแบบ ประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่น2554-2563. พนมเปญ : กองเลขาธิการของ
คณะกรรมการแห่งชาติสำหรับการพัฒนาประชาธิปไตย.
จำ เริญ อุ่นแก้ว. (2553). สถิติเพื่อการวิจัย (ฉบับย่อ).ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ.
ปิยะ ประทีปรักมณี. (2546). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ชายทะเลบางขุน
เทียนกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมวิทยาประยุกต์
บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พัชรี กุณฑีทอง. (2551). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนเทศบาลเมืองชะอำ
จังหวัดเพชรบุรี. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขานโยบายสาธารณะ
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
พิชิต ไทยนิยม. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนเขตเทศบาลตำบลบางปะกง
อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา.งานนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิตการบริหารงาน ยุติธรรมและสังคม คณะรัฐศาสตร์และนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

นฤมล วาริชา. (2552). แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหาร
ส่วนตำบลหาดอาษา อาเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
นุสรา พันธรักษ์. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น: กรณีศึกษาพื้นที่ตำบล
คลองจุกกระเฌอ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา.งานนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรเพื่อความมั่นคง (พนัสนิคม) คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา.
นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2549). การพัฒนาความรู้สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน.วารสารพัฒนาชุมชน.45(4),8-10.
วันกวี คุ้มคง. (2557). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง
อำเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรี.งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ
บริหารทั่วไปวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
วาสนา แตงเพ็ง. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตเทศบาลตำบลสามง่าม
ท่าโบสถ์ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
สาขารัฐประสาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
วิษณุ หยกจินดา. (2557 ). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านทุ่งกร่าง ตำบลทับ
ไทร อำเภอโป่ งน้าร้อน จังหวัดจันทบุรี.งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิรินาถ อังสุพานิช. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของ
ประชาชนตำบลขุนทอง อำเภอตกใบ จังหวัดนราธิวาส.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาคหกรรมศาสตร์เพื่ อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยรามคำ แหง.
สนธยา พลศรี. (2550). เครือข่ายการเรียนรู้ในการพัฒนาชุมชน.พิมพ์ครั้งที่ 2 .กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตว์.
อาภรณ์ ปะลาวัน. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาชุมชนของ
สตรีในเขตพื้นที่ตำบลเกตรี อำเภอเมือง จังหวัดสตูล.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาคหกรรมศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยรามคำ แหง.
อารดา พุ่มหิรัญ. (2551). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของประชาชนในชุมชนอัสลามคลองกุ่ม
และชุมชนสมหวัง เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.