การศึกษาผลการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู ด้านคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2558

Main Article Content

เพชรสุดา เพชรใส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย  คือ  เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูด้านคุณธรรม  จริยธรรมของนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา  ชั้นปีที่  2  ประจำปีการศึกษา 2558  เรื่องการรักษาศีล  5  อิทธิบาท  4  และปิยวาจา  โดยใช้โปรแกรมกิจกรรมการให้คำปรึกษากลุ่ม  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  นักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 44 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  1.แบบทดสอบ คุณธรรม  จริยธรรม  เรื่องการรักษาศีล 5 อิทธิบาท 4 และปิยวาจา  และโปรแกรมกิจกรรมการให้คำปรึกษากลุ่ม  พัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูด้านคุณธรรมจริยธรรม  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ  คือ  ค่าเฉลี่ย  (  = mean)  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (standard deviation)  การทดสอบทีแบบไม่อิสระ  (t-test) 


ผลการวิจัยโดยการใช้โปรแกรมกิจกรรมให้คำปรึกษากลุ่มเกี่ยวกับการรักษาศีล อิทธิบาท 4 และปิยวาจา ปรากฏว่า  นักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา  ชั้นปีที่ 2 มีจิตวิญญาณความเป็นครูสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.01

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กำแหง จิตตะมาก. (2530). “การศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึง
ประสงค์แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอ่างทอง.”
คณะวิชาครุศาสตร์ วิทยาลัยครูยะลา.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2543). จริยธรรมสำหรับคนรุ่นใหม่. กรุงเทพมหานคร :
มูลนิธิพุทธธรรม.
เพชรสุดา เพชรใส. (2525). การทดลองการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มในการปรับพฤติกรรมความก้าวร้าว
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, อัดสำเนา.
สุภาภร จันทร์ศิริโยธิน. (2532). ผลการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มที่มีต่อการพัฒนาความมีวินัย
ในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบางกะปิ. กรุงเทพมหานคร.
ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.
Gazda, G.M., J.A. Ducan and M.E. Meadoss. (1967).“Group Counseling and Group
Procedures: Reported of a Survey” Counselor Education and Supervision. 6 :
305-310.