การนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีความมุ่งหมายเพื่อนำเสนอกระบวนการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติ โดยยึดตัวแบบทางทฤษฎีการนำนโยบายไปปฏิบัติของแวน มิเตอร์และแวน ฮอร์นที่ชื่อตัวแบบว่า “A model of the Policy Implementation Process” ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรทั้งสิ้น 6 ตัวแปร ประกอบด้วย 1. มาตรฐานและวัตถุประสงค์ของนโยบาย ได้แก่ ลักษณะนโยบายที่มีแนวทางของวัตถุประสงค์ชัดเจน เฉพาะเจาะจง และสอดคล้องกับความเป็นจริง 2. ทรัพยากร ได้แก่ จำนวนบุคลากร ระยะเวลาในการดำเนินงาน และงบประมาณ ที่ใช้ในการปฏิบัติงานมีอย่างเพียงพอและเหมาะสม 3. การสื่อสารระหว่างองค์การและกิจกรรมในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ได้แก่ ความสามารถในการสื่อข้อความได้ชัดเจน ถูกต้อง ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจในทิศทางที่ตรงกัน 4. ลักษณะขององค์การในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ได้แก่ ลักษณะของหน่วยงานที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายปฏิบัติ 5. เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง หมายถึง การที่กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน ประชาชน หรือบุคคลสำคัญในท้องถิ่นเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย โดยแสดงออกด้วยการสนับสนุนหรือคัดค้านนโยบายในสภาวะช่วงเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองนั้น 6. ทัศนคติของผู้ปฏิบัติงาน หมายถึง แนวความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของบุคคลที่มีต่อนโยบายเบี้ยยังชีพ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเมื่อวิเคราะห์แล้วสามารถนำไปสู่ผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติคือความสำเร็จและความล้มเหลวของการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติตามวัตถุประสงค์คือคุณภาพชีวิตและการดำรงอยู่ในชุมชนของผู้สูงวัยอย่างเหมาะสม
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ชญานิน กฤติยะโชติ.(2558) กลยุทธ์การเสริมสร้างวิถีชีวิตประชาธิปไตยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาใน-
จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ : มหาวิทยาลัย-
ราชภัฎศรีสะเกษ.
ณัฐธยาน์ ระโส. (2554) การศึกษาประสิทธิผลขององค์การปกครองท้องถิ่นในการจัดการเบี้ยยังชีพ
ผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบาย
สาธารณะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฑ.
ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์,ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2560) ประชากรไทยในอนาคต.(ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 10
พฤษภาคม 2560 จาก http://www.ipsr.mahidol.ac.th/IPSR/AnnualConference/
ConferenceII/Article/Download/Article02.pdf
ภักดี โพธิ์สิงห์. (2554) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปปฏิบัติ.
วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 8 (2) : 40
ราชกิจจานุเบกษา. (2552) ระเบียบคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพ
ผู้สูงอายุ เล่ม 126 ตอนพิเศษ 30 ง หน้า 1.
ระพีพรรณ คำหอม; และคนอื่นๆ. (2547). รายงานวิจัยเรื่องโครงการการประเมินผลการจ่ายเงิน
สงเคราะห์เพื่อการยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: บางกอกบล็อก.
วรเดช จันทศร (2559). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ พิมพ์และปรับปรุงครั้งที่ 7 พริกหวาน
กราฟฟิค จำกัด กรุงเทพฯ.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2549). นโยบายสาธารณะ: แนวความคิดการวิเคราะห์และกระบวนการ.
พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2557) ประชากรสูงอายุไทย : ปัจจุบัน
และ อนาคต เอกสารประมวลสถิติด้านสังคม พิมพ์ครั้งที่ 1 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสาร.
ศิริพร เขียวไสว. (2550) การนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติ กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบล
วังยาง จังหวัดสุพรรณบุรี ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบาย
สาธารณะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรท 2550.
Edward ,G.C.(1980) Implementing Public Policy. Washington D.C. : Congressional
Quarterity Inc.
Van Meter, Donald S.; & Van Horn, Carl E. (1975. February). The Policy Implementation
Process: A Conceptual Framework. Administration and Society. 6(4): 445-487.