แผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวด้านอาหารภาคใต้เชิงสร้างสรรค์ แบบบูรณาการอย่างยั่งยืนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย

Main Article Content

ณภัทร นาคสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวางแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาการท่องเที่ยวด้านอาหารภาคใต้เชิงสร้างสรรค์ แบบบูรณาการอย่างยั่งยืนใน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนำแผนยุทธศาสตร์ไปดำเนินการโครงการนำร่องในชุมชนที่เป็นกรณีศึกษาและทำการประเมินผลการดำเนินงานกลุ่มตัวอย่างของการวิจัย คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และนักท่องเที่ยวในจังหวัดสุราษฎร์ธานี รวม 45 คน ดำเนินการวิจัยโดยการสนทนากลุ่ม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis) โดยกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


                   ผลการวิจัยพบว่า จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีศักยภาพด้านทรัพยากรทางธรรมชาติ ด้านบริการ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ และการปลุกจิตสำนึก ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน นักท่องเที่ยว และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการจัดการทรัพยากรอาหารอย่างยั่งยืน โดยมีวิสัยทัศน์ คือ สร้างแบรนด์ท่องเที่ยวอาหารใต้และอาหารเพื่อสุขภาพกายใจแก่ชาวโลก และเป็นเมืองนวัตกรรมอาหาร โดยใช้เทคโนโลยีสร้างความมั่นคงด้านอาหารแก่ชาวไทยและชาวโลก สร้างแบรนด์ท่องเที่ยวอาหารเกษตรอินทรีย์ วิถีธรรมชาติที่มีคุณภาพและความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว และเป็นศูนย์การศึกษาและพัฒนาระบบบริการจัดการด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ที่มีโครงสร้างและประสิทธิภาพโดยสร้างเครือข่ายการจัดการอาหารระดับครัวเรือน ระดับชุมชน ระดับชาติ ส่วนยุทธศาสตร์และกลยุทธ์เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ คือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมและพัฒนาจิตใจ มีกลยุทธ์การอนุรักษ์วัฒนธรรมภูมิปัญญาและวิถีชุมชน และการพัฒนาจิตใจ ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวด้านอาหารในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและกระจายรายได้สู่ชุมชน มีกลยุทธ์ด้านการตลาดการท่องเที่ยวมิติอาหารและการพัฒนาสินค้าและบริการการท่องเที่ยวด้านอาหาร  ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวด้านอาหารในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มีกลยุทธ์การใช้ที่ดินเชิงการท่องเที่ยว และ การจัดการทรัพยากรเชิงการท่องเที่ยวอาหาร ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวด้านอาหารในสุราษฎร์ธานี เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน มีกลยุทธ์การสร้างเครือข่ายเพื่อการสร้างความเข้มแข็ง และการกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวสู่ชุมชน การประเมินผลการนำแผนยุทธศาสตร์ไปดำเนินการโครงการนำร่องในชุมชนคลองน้อย แสดงให้เห็นว่า ชุมชนมีการพัฒนาทางด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหารโดยชุมชน เกิดการเปลี่ยนแปลงและการรับรู้นำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน


 

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา. กรมการท่องเที่ยว. (2557ก). สรุปสถานการณ์นักท่องเที่ยว มกราคม 2557.เข้าถึง
เมื่อ 1 ตุลาคม 2559. เข้าถึงได้จากhttp://www.tourism.go.th
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2555). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2555-2560. กรุงเทพมหานคร.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร.
กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2560). Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความ
มั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. สืบค้นเมื่อวันที่ สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2560 จาก
http://www.libarts.up.ac.th/v2/img/Thailand-4.0.pdf
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. กรมการท่องเที่ยว. (2558). เอกสารงานแถลงข่าวรายงาน เศรษฐกิจการ
ท่องเที่ยว ฉบับที่ 1 วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม 2558. เข้าถึงเมื่อ 2 ตุลาคม 2559. เข้าถึงได้จาก
http://www.mots.go.th/more_news.php?cid=397
จารุโส สุดคีรี. (2558). รูปแบบการพัฒนาองค์กรชุมชนแบบยั่งยืน. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2
กรกฎาคม – ธันวาคม 2558.
ทรงสิริ และพจนีย์. (2555). วิถีชีวิตและความมั่นคงของอาหารภาคใต้. เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2559.
เข้าถึงได้ จาก http://tci-.thaijo.org/index.php/RMUTP/article/view/18932.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2542). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
_______________. (2548). การพัฒนาการทองเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: เพรส แอนดดีไซน.
พยอม ธรรมบุตร. (2549). เอกสารประกอบการเรียนการสอนเกี่ยวกับองค์ประกอบของการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ:
สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มปป. (2556). อาหารพื้นบ้านใต้. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2560 จาก
http://oknation.nationtv.tv/blog/SouthernFoods/2013/03/23/entry-2
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ. ฉบับที่ 12 สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2560 จาก
http://www.nesdb.go.th/article_attach/article_file_20160922162840.pdf
สุภางค์ จันทวานิช. (2556). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2545). สังคมศาสตร์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อดิศร ศักดิ์สูง. (2556). ประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยวในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2 สงขลา : คณะมนุษยศาสตร์
และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
McMillan, J.H. and Schumacher, S.S. (1997) Research in Education: A Conceptual Introduction.
Longman, New York.