การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกและต้นไหลในจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อขยายกลุ่มเป้าหมายสู่ตลาดต่างประเทศ

Main Article Content

พัชรา ปราชญ์เวทย์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกและต้นไหลในจังหวัดศรีสะเกษเพื่อขยายกลุ่มเป้าหมายสู่ตลาดต่างประเทศ”มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก ต้นไหลเพื่อจำหน่ายเป็นสินค้า OTOP เพื่อศึกษาอบรมการเพิ่มช่องทางการตลาดด้านธุรกิจออนไลน์สินค้าของชุมชน และและ ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปในจังหวัดศรีสะเกษโดยใช้กระบวนการวิจัย 5 ขั้นตอนได้แก่ 1) ศึกษาสภาพบริบทพื้นฐาน 2)จัดประชุมเสวนาผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 3)ร่างแบบ และสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 4) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ 5)สรุปผล และประเมินผล กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เจ้าอาวาสวัด  ผู้อำนวยการโรงเรียน  กำนัน หัวหน้าสถานีอนามัย ผู้ใหญ่  ผู้อาวุโสของหมู่บ้าน กลุ่มทอผ้า  และผู้ที่เป็นผู้นำแบบไม่เป็นทางการ  รวมถึงแกนนำของชุมชนรวมทั้งหมด 50 คนโดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการพรรณนาเนื้อหา


           ผลการวิจัยพบว่า 1)แปรรูปผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกและต้นไหลในจังหวัดศรีสะเกษได้ผลิตภัณฑ์ประเภท กระเป๋า แฟ้มกล่าวรายงาน และ ชุดที่รองจานรองแก้ว 2) การเพิ่มช่องทางการตลาดด้านธุรกิจออนไลน์สินค้าของชุมชนในจังหวัดศรีสะเกษ พบว่าทุกด้านโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4. 69 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.38  3) ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการแปรรูป เสื่อกกและต้นไหลในจังหวัดศรีสะเกษ พบว่าระดับความคิดเห็นความพึงพอใจรวมทุกด้านโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุดมีค่าเฉลี่ย 4.42 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0. 37 ซึ่งสามารพัฒนาอาชีพ และสร้างเอกลักษณ์ให้แก่สินค้า และพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าให้เป็นสินค้าระดับ Premium OTOP (หัตถกรรม) เพื่อการบริการที่มีมูลค่าสูง ตลอดจนมีการขยายธุรกิจด้วย E-commerce และสร้างผู้ประกอบการ ด้วยสินค้าของชุมชนต่อไป

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กรรณิกา พิมลศรีและอดิศร เรือลม. (2556). ศักยภาพ ทางการท่องเที่ยวเมืองชายแดนภูซาง จังหวัดพะเยา ในการ
เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
1(2): 7-19.
เกษิณี ผลประพฤติและคณะ. (2547). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื่อกกให้ได้มาตรฐานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
บางสระเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
จุฑารัตน์ เกียรติรัศมี.(2558).ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ของผู้บริโภคในเขต
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (ค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.
ธัญญพัสส์ เกตุประดิษฐ์. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าทางอินเตอร์เนตของผู้หญิง
ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสาร การเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ ปี ที่1
เล่มที่ 2.
ทิวาวรรณ จันทร์เชื้อ (2553). การศึกษาเชิงประจักษ์ของความพึงพอใจและความภักดีของลูกค้าใน
การค้าทางอินเตอร์เน็ต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิทยาลัยนวัตกรรม.
ทรงคุณ จันทจร. (2555). การประยุกต์ใช้ ภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านการจัดการการผลิตเสื่อกกเชิงพาณิชย์
จังหวัดมหาสารคาม. มหาวิทยาลัย มหาสารคาม, มหาสารคาม.
ณรงค์ สมพงษ์ศศิฉาย ธนะมัย และสุรชัย ประเสริฐสรวย. (2555). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบมี
ส่วนร่วมของชุมชน ที่มีต่อการพัฒนาการศึกษา และอาชีพการเกษตรในท้องถิ่น.
วารสาร ศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ 27(1): 97-109.
พัชรินทร์ สิรสุนทร.(2550).ชุมชนปฏิบัติการด้านการเรียนรู้:แนวคิด เทคนิคและกระบวนการ.สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร:วี.พริ้นท์(1991)
พิชญธิดา ลิ้มสวัสดิวงศ์.(2551). “ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
เทคโนโลยีสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยรามคําแหง.เข้าถึงเมื่อ 3 สิงหาคม 2556.บทคัดย่อจาก
จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์.
ศิริเพ็ญ มโนศิลปกร. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์.
วิทยานิพนธ์บธ.ม. (การจัดการ). ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ลักษณพร โรจน์พิทักษ์กุล. (2553). การสร้างมูลค่าเพิ่มการทอเสื่อกกเพื่อเศรษฐกิจของชุมชนตาบลกระทุ่มแพ้ว
อำเภอ บ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี. การวิจัยเครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออก.
อนงค์ อัมพรายน์และคณะ (2547). การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์
เสื่อกก ตำบลท่าฉนวน อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
และเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ.
อรวิสา งามสรรพ์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการซื้อสินค้าออนไลน์
(Eshopping) ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (ค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
วิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา, หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต.