แนวทางการปฏิรูปองค์กรกีฬาในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาแนวทางการปฏิรูปองค์กรกีฬาในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาแนวทางการปฏิรูปองค์กรกีฬาในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ซึ่งข้อมูลที่ได้จะสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาวงการกีฬาของประเทศไทยต่อไปได้ โดยผู้วิจัยได้กำหนดขั้นตอนในการวิจัยไว้ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลการบริหารจัดการองค์กรกีฬาในส่วนภูมิภาค โดยได้ทำการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารจัดการองค์กรกีฬาภูมิภาคของประเทศไทย จำนวน 10 คน เกี่ยวกับของสภาพปัญหาและอุปสรรคของการบริหารจัดการองค์กรกีฬาภูมิภาคของประเทศไทย ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาแนวทางการปฏิรูปองค์กรกีฬาในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย โดยการ ใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) จากผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการองค์กรกีฬา จำนวน 17 คน เพื่อให้ได้ร่างแนวทางการปฏิรูปองค์กรกีฬาในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย และขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการปฏิรูปองค์กรกีฬาในส่วนภูมิภาคของประเทศไทยในการนำไปปฏิบัติ โดยสอบถามกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารจัดการองค์กรกีฬาในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย จำนวน 152 คน เพื่อยืนยันแนวทางการปฏิรูปองค์กรกีฬาในส่วนภูมิภาคของประเทศไทยที่มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติและมีความสมบูรณ์
จากการวิจัยพบว่า
- สภาพและปัญหาในการบริหารจัดการองค์กรกีฬาในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า สภาพการดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนากีฬาในส่วนภูมิภาคในปัจจุบันได้ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560-2564) โดยมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเพื่อขับเคลื่อนแผนพัฒนากีฬาชาติไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกันตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึงระดับปฏิบัติการ สำหรับในส่วนขององค์กรกีฬาในส่วนภูมิภาคภายใต้การกำกับดูแลของการกีฬาแห่งประเทศไทยนับได้ว่าเป็นระดับปฏิบัติการ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสององค์กรได้แก่ สำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัด และสมาคมกีฬาจังหวัด โดยจะเป็นผู้รับนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ประสานงานและเชื่อมโยงการดำเนินงานให้มุ่งสู่การขับเคลื่อนแผนในแต่ละยุทธศาสตร์ต่อไป สำหรับปัญหาที่พบในการบริหารจัดการองค์กรกีฬาในส่วนภูมิภาคของประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการภายในองค์กรเช่น บุคลากร งบประมาณ สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินงาน ด้านการประสานงานภายในองค์กรและระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระบวนการในการดำเนินงานขององค์กร เป็นต้น
- แนวทางการปฏิรูปองค์กรกีฬาในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย มีแนวทางในการปฏิรูป 5 ด้าน ได้แก่ แนวทางการปฏิรูปด้านการบริหารจัดการ มีองค์ประกอบย่อย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการจัดการองค์กร ด้านสถานที่อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการควบคุม และด้านการติดตามประเมินผล, แนวทางการปฏิรูปด้านการพัฒนานักกีฬาและบุคลากรทางการกีฬา มีองค์ประกอบย่อย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการพัฒนานักกีฬา และด้านการพัฒนาบุคลากรทางการกีฬา, แนวทางการปฏิรูปด้านการส่งเสริมกีฬา มีองค์ประกอบย่อย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการจัดการแข่งขันและกิจกรรมกีฬา และด้านการส่งเสริมและให้ความรู้ด้านกีฬา, แนวทางการปฏิรูปด้านสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ มีองค์ประกอบย่อย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านสวัสดิการ และด้านสิทธิประโยชน์ และแนวทางการปฏิรูปด้านการมีส่วนร่วม มีองค์ประกอบย่อย 1 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วม
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
ณัฐพล จิตประไพ (2550). กลยุทธ์การสื่อสารตราสินค้าด้วยเครื่องมือการเป็นผู้สนับสนุน
ทางการตลาด.ศูนย์ศึกษาและวิจัยตราสินค้ามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ทินกร ชอัมพงษ์. (2561). รูปแบบการบริหารงานกีฬาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ.สาขาวิชา
การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ปรภฏ ศศิประภา. (2554).ยุทธศาสตร์การนำวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อการพัฒนา
นักกีฬาทีมชาติ. วารสารคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปีที่ 14 เล่มที่ 2 ฉบับเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2554.
พงษ์เอก สุขใส (2557) รูปแบบการบริหารจัดการกีฬาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด.
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร. (2559).การฝึกอบรม : หัวใจสำคัญของการพัฒนาทรัพยากร
มนุษย์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์.
สมทบ ฐิตะฐาน. การจัดการกีฬา: Sport Management. (5 สิงหาคม 2558) สืบค้น 25
กรกฎาคม 2561 จากhttp://thithathan.blogspot.com
สมบัติ คุรุพันธ์. (2554). การวิจัยประเมินกิจกรรมนันทนาการในชุมชม. กรมพลศึกษา.
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.(2553). เอกสาร ประกอบการฝึกอบรมเรื่อง "การ
บริหารงาน ฝึกอบรม" การฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารงาน ฝึกอบรม.
อภิวัฒน์ ปานทอง และคณะ (2560) การวางแผนระยะยาวส าหรับพัฒนานักกีฬา. วารสาร
บัณฑิตศึกษา ปีที่ 14 ฉบับที่64