การจัดการเรียนการสอนอาเซียนศึกษาในโรงเรียนไทย

Main Article Content

อนรรฆ สมพงษ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนอาเซียนศึกษาในโรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของประเทศไทย โดยประกอบด้วย 4 หัวข้อ คือ 1) อาเซียนกับการศึกษาไทย 2) อาเซียนกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  3) ASEAN Curriculum Sourcebook: คู่มือหลักสูตรอาเซียน และ 4) วิชาอาเซียนศึกษากับการเรียนการสอนในโรงเรียนไทย


การศึกษาเรื่องอาเซียน เริ่มต้นและขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากที่ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) จากปรากฏการณ์ดังกล่าวส่งผลต่อประเทศไทย โดยเฉพาะด้านการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการซึ่งเป็นหน่วยงานหลักได้ดำเนินนโยบายหลายประการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนอาเซียนศึกษาขึ้นทั้งในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั่วประเทศ แต่ยังพบปัญหาสำคัญคือบุคลากรในสถานศึกษายังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียน และงบประมาณที่จัดสรรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่เพียงพอ


นอกจากนี้สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน (ASEAN) ยังได้จัดทำคู่มือหลักสูตรอาเซียน ASEAN curriculum sourcebook ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนอาเซียนศึกษาให้กับโรงเรียนในประเทศต่างๆ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คู่มือนี้สามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับบริบทโรงเรียนของแต่ละประเทศในการสอนเรื่องอาเซียน โดยเนื้อหาสาระและกิจกรรมในหนังสืออาจจะไม่ตรงกับหลักสูตรหรือการจัดหมวดรายวิชาของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เนื้อหาและกิจกรรมมีความยืดหยุ่นเพียงพอต่อการนำไปประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอนของประเทศสมาชิกอาเซียน

Article Details

บท
Academic Articles (บทความวิชาการ)

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
ธนัฏฐ์ แสนแปง. (2558). การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาตามคู่มือหลักสูตรอาเซียนของโรงเรียนสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34. วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประภาศรี พิทอนวอน. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการนำ ASEAN curriculum sourcebook ไปใช้ใน
สถานศึกษา สำหรับครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ (กศ.ด.) มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุรินทร์ พิศสุวรรณ. (2555) . ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง"จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคม
อาเซียน" ณ ห้อง 202 ชั้น 22 อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555.
สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ. (2554). การศึกษา:การสร้างประชาคมอาเซียน 2558. กรุงเทพฯ: สำนักความสัมพันธ์
ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). คู่มือหลักสูตรอาเซียน: ASEAN curriculum sourcebook
ฉบับแปลเป็นไทย. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2554). แนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ:
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2557). แนวทางการนำ Asean curriculum sourcebook สู่การปฏิบัติ.
กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อนรรฆ สมพงษ์. (2556). การศึกษาการดำเนินงานของโรงเรียนมัธยมศึกษานำร่องในโครงการพัฒนาสู่ประชาคม
อาเซียน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ (ค.ม.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาภาพร ธนวนิชนาม. (2560). การศึกษาการใชหลักสูตรอาเซียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสุราษฎรธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ (ค.ม.) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎรธานี.
ASEAN. (2012). Asean curriculum sourcebook. Retrieved January 22, 2018, from http://www.asean.org/wp-content/uploads/images/2012/publications/ ASEAN%20Curriculum%20Sourcebook_FINAL.pdf
ASEAN. (2012). CEBU DECLARATION. Retrieved February 01, 2018, https://asean.org/storage/2012/05/Annex_16-MACTAN-CEBU-DECLARATION-Final-by-TELSOM-
13-14-Nov-12.pdf
ASEAN. (2012). DECLARATION OF ASEAN CONCORD II (BALI CONCORD II) Retrieved January 12, 2018, https://asean.org/?static_post=declaration-of-asean-
concord-ii-bali-concord-ii
ASEAN. (2015). ASEAN 2025: Forging Ahead Together. Retrieved February 01, 2018,
https://www.asean.org/wp-content/uploads/2015/12/ASEAN-2025-Forging-Ahead-Together-
final.pdf
The Non-Formal and Informal Education. (2011) Retrieved January 15, 2018, from http://www.nfe.go.th/en/index.php?option=com_content&view=article&id=4&Itemid=21