การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ ของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย คือ (1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการพัฒนาครูในการใช้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ ของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ในการพัฒนาครูในการใช้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ ของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (3) เพื่อพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการใช้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ ของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนคอมพิวเตอร์สังกัดท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 12 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 103 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นและผ่านการตรวจสอบคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (Needs Assessment) โดยผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากระยะที่ 2 มาหาค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (Priority Needs Index : PNImodified ) เพื่อจัดลำดับความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัย พบว่า
- องค์ประกอบในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยได้สังเคราะห์องค์ประกอบได้ดังนี้ 1) การกำหนดวัตถุประสงค์และแนวทางการจัดการเรียนรู้ 2) การออกแบบและวางแผนการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ 3) การดำเนินการสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ 4) การทดสอบ ปรับปรุง แก้ไขนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ก่อนนำไปใช้งาน และ 5) การประเมินผลการใช้งานนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ ผลการประเมินองค์ประกอบในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
- ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ ของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรวมและเป็นรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ โดยรวมและเป็นรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
3. โปรแกรมพัฒนาครูในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ ของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีองค์ประกอบดังนี้คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการ และ การประเมินผล ผู้วิจัยได้ออกแบบเนื้อหาของโปรแกรม โดยเน้นเนื้อหาตามค่าดัชนีความต้องการจำเป็นที่มีความต้องการอันดับแรก คือ ด้านการทดสอบ ปรับปรุง แก้ไขนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ก่อนนำไปใช้งาน ด้านการดำเนินการสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์และแนวทางการจัดการเรียนรู้ ด้านการประเมินผลการใช้งานนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ และด้านการออกแบบและวางแผนการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ วิธีการพัฒนาคือ 1) การฝึกปฏิบัติในงาน 2) การศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง และ 3) การประชุม อบรม สัมมนา โดยมีกิจกรรมการประเมินความรู้ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมและการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโปรแกรม และผลการตรวจสอบความเหมาะสมโปรแกรมพัฒนาครูในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
รสสุคนธ์ มกรมณี. (2557). เรื่องน่าวิจัย : การออกแบบการเรียนรู้เพื่อศตวรรษที่ 21. เอกสารประกอบการ
ประชุมทางวิชาการของคุรุสภา ประจำปี 2557. กรุงเทพฯ สานักงานเลขาธิการคุรุสภา,
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2555). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545- 2559).
กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟิก.
ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2554). การออกแบบพัฒนาโปรแกรมบทเรียนและบทเรียนบนเว็บ. พิมพ์ครั้งที่ 15.
ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์.
ทองไส เทียบดอกไม้. (2556). โปรแกรมพัฒนาครูด้วยการบูรณาการ ICT เพื่อการจัดการเรียนการสอน
ในโรงเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2558 - 2560).
18 กรกฏาคม, 2559.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิษฐา พุฒิมานรดีกุล. (2558). การนำเสนอรูปแบบการฝึกอบรมบนเว็บเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ เป็นทีม
สำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษา วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาโสตทัศนศึกษา.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
มณเฑียร รัตนศิริวงศ์วุฒิ.(2552). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์สมรรถนะนักเทคโนโลยีสารสนเทศ
โดยวิธีการ วิเคราะห์องค์ประกอบ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาควิชา
เทคโนโลยีสารสนเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สาหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ :
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
นิธิดา วิวัฒน์พาณิชย. (2558) “การพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ A DEVELOPMENT OF
SOCIAL MEDIA LITERACY SKILLSW. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ
วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 9(3) : 25-30 ; กันยายน – ธันวาคม.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1981). “Determining Sample Size for Research Activities”.
Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.
Hirumi, A., and Bermudez, A. (1996). “Interactivity distance education and instructional
systems design converge on the information superhighway”. Journal of
Research on Computing in Education, 29(1) (1996): 1-16.
Dillon, A and Zhu, E. (1997). Designing web-based instruction: a human-computer
interaction perspective. In Badrul H. Khan (Ed.), Web-based instruction
(pp.221-224). Englewood Cliffs, NJ: Educational Technologies Publications,