พฤติกรรม ความต้องการ และการรับรู้ภาพลักษณ์ห้องสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษของผู้ใช้บริการ

Main Article Content

เริงใจ เขียวอ่อน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของผู้ใช้บริการห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และเพื่อศึกษาการรับรู้ของผู้ใช้บริการที่มีต่อภาพลักษณ์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ แบ่งเป็น นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 348 คน นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 6 คน  และบุคลากร จำนวน      16  คน เครื่องมือที่ใช้การเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามมี 2 ลักษณะ คือ แบบตรวจสอบรายการ และแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า (1) พฤติกรรมการเข้าใช้บริการ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ระยะเวลาในการเข้าใช้อยู่ระหว่าง 2–3 ชั่วโมง ช่วงเวลาใช้บริการ ห้องสมุดบ่อยที่สุดคือ วันจันทร์-วันศุกร์เวลา 08.30 น. – 16.30 น. วิธีการให้ได้มาซึ่งข้อมูลของผู้ใช้บริการ คือ ค้นข้อมูลจากทรัพยากรในห้องสมุด เหตุผลที่เข้าใช้บริการเพราะห้องสมุดมีทรัพยากรสารสนเทศครบถ้วน หลากหลาย และตรงกับความต้องการ วัตถุประสงค์ ในการเข้าใช้เพื่อค้นคว้าสารสนเทศ ประกอบการทำงาน ทำรายงานหรือ การบ้าน บริการที่เข้าใช้บริการบ่อยที่สุด คือบริการยืม – คืนทรัพยากรสารสนเทศ   (2) ผู้ใช้บริการมีความต้องการด้านผู้ให้บริการมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านบริการ ด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อม และด้านทรัพยากร (3) ผู้ใช้บริการมีการรับรู้ภาพลักษณ์ห้องสมุดด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อมมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านบริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และด้านนโยบายและการบริหารงานห้องสมุด   

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กลุ่มงานวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. (2560). รายงานการดำเนินงาน
ประจำปี พ.ศ. 2560. มปท : มปพ.
______¬. (2560). รายงานผลการดำเนินงานโครงการสัปดาห์ห้องสมุด ประจำปี 2560. มปท : มปพ.
ณัฏฐญา เผือกผ่อง นางดวงใจ กาญจนศิลป์ และนางขวัญแก้ว เทพวิชิต. (2559). ความต้องการและพฤติกรรมการ
ใช้บริการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาของนักศึกษาต่างชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยสุรนารี
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์
ครั้งที่ 13. กรุงเทพ : บิสเนสอาร์แอนด์ดี.
ธีรพันธ์ โล่ทองคำ. (2553). A bout brands เรื่องของแบรนด์. กรุงเทพฯ: ทรูโฟร์ พริ้นติ้ง จำกัด.
นฤมล กิจไพศาลรัตนา. (2553). ภาพลักษณ์ของห้องสมุดยุคใหม่ : การประยุกต์ใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อการ
บริหารคุณภาพในห้องสมุดคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, 3 (มกราคม-มิถุนายน), 13-16.
วิศปัตย์ ชัยช่วย. (2553). การสร้างแบรนด์ห้องสมุดมหาวิทยาลัย. สารสนเทศศาสตร์, 8(1), 51–58.
ศิริญาพร การสอน. (2555). การศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ตามแนวคิดการวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าของ Kotler. ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต.
ขอนแก่น : สาขาการจัดการสารสนเทศ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สายฝน บูชา. (2559). ภาพลักษณ์ของห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี”อำเภอลาดหลุมแก้ว
ในสายตาประชาชน. ประทุมธานี : สาขามนุษยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
แสงเดือน วนิชดำรงศักดิ์. (2555). การรับรู้ภาพลักษณ์และคุณภาพบริการ : กรณีศึกษา ธนาคาร
เกียรตินาคิน สาขากรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
วิชาเอกการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
อังคณา แวซอเหาะและโสภา ไทยลา. (2552). ความคาดหวังของบุคลากรและนักศึกษาต่องาน
บริการห้องสมุด สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลพระนคร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
Krejcie, R V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research
Activities. Educationaland Psychological Measurement, 30, 607-610.