มนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ขุนทอง สุขทวี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษามนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 2)เพื่อเปรียบเทียบมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา จำแนกตามวุฒิการศึกษา  ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของโรงเรียน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนามนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานโรงเรียนมัธยมศึกษา 


            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ  จำนวน 281 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจะใช้แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นและตรวจสอบคุณภาพ  เป็นเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที  ค่าเอฟ และการทดสอบความแตกต่างรายคู่


            ผลการวิจัยพบว่า


  1. มนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานโรงเรียนมัธยมศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านคุณลักษณะส่วนตัวของผู้บริหาร มีค่าเฉลี่ยสูงสุดรองลงมาคือด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่นของผู้บริหาร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านความเข้าใจผู้อื่นของผู้บริหาร

  2. การเปรียบเทียบมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานโรงเรียนมัธยมศึกษาจำแนกตามวุฒิการศึกษา  โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน   ประสบการณ์ โดยภาพรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 01 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01 และขนาดของโรงเรียน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน  

  3. แนวทางการพัฒนา มนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหาร 1) ผู้บริหารต้องมีบุคลิกและคุณลักษณะด้านความเป็นผู้นำ มีความรู้ความสามารถในการบริหารโดยเฉพาะผู้บริหารรุ่นใหม่ๆ ยังขาดความน่าเคารพ และขาดวิสัยทัศน์ในด้านการบริหาร 2) ผู้บริหารควรให้ผู้ร่วมงานในองค์กรแสดงศักยภาพของตนเอง ควรรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ร่วมงานและนำมาวิเคราะห์ก่อนตัดสินใจ และท่านผู้บริหารควรยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นผู้ที่ให้คำปรึกษาที่ดีได้  ดูแล  ทุกข์สุข ของผู้ร่วมงาน  3) ผู้บริหารควรมีกัลยาณมิตร มีการเสริมแรงให้รางวัลชมเชยต่อบุคลากรที่ทำความดีตามโอกาสอันควร และผู้บริหารที่ดีต้องเป็นผู้มีความเสียสละ มีน้ำใจ รักองค์กร มีความเมตตาต่อผู้ใต้บังคับบัญชา เหมือนคนในครอบครัวเดียวกัน ปกครองเหมือนพ่อแม่ปกครองลูก

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

จารุณี ดวงแก้ว. (2553). ศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักเกณฑ์ของ
คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต3(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). ลพบุรี: มหาวิทยาลัย
ราชภัฏเทพสตรี.
เจษฎา เขียวนิล. (2554). อำนาจและมนุษยสัมพันธ์ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน
ระดับปฏิบัติการ บริษัทไทยบริดจสโตนจำกัด(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต).
กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ทองทิพภา วิริยะพันธ์. (2549). มนุษยสัมพันธ์กับการบริหาร. ( พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร:
สหธรรมิก.
ธนกร อิงคนินันท์. (2551). คุณลักษณะของผู้บริหารท้องถิ่นตามทัศนคติของประชาชน ศึกษา
เฉพาะกรณี เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ พ.ศ. 2550(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต).
อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บังอร อนุเมชางกูร. (2542). หลักสูตรและการจัดการมัธยม. ฉะเชิงเทรา: สถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา.
มนูญ ยางงาม. (2556). บทบาทด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดสุรินทร์ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต).
สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
วิชชุดา หุ่นวิไล. (2542). การบริหารบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: คณะคุรุศาสตร์
สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
สมหวัง ไชศรีฮาด. (2547). มนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
เลย เขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ. (2556). จับประเด็นการศึกษา ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม 5 ปี
ที่ สังกัด อบจ. ศรีสะเกษ. วรสาร อบจ. ศรีสะเกษ, 56(3), 12.