การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครู ในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้แนวคิดสมองเป็นฐาน สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย คือ (1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้แนวคิดสมองเป็นฐาน สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 (2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และวิธีการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้แนวคิดสมองเป็นฐาน (3) เพื่อพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครู ในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้แนวคิดสมองเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูภาษาไทย ที่สอนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 181 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นแบบประเมินองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้แนวคิดสมองเป็นฐาน ของครูผู้สอนภาษาไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นและผ่านการตรวจสอบคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (Needs Assessment) โดยผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากระยะที่ 2 มาหาค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (Priority Needs Index : PNImodified ) เพื่อจัดลำดับความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัย พบว่า
- องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้แนวคิดสมองเป็นฐาน ผู้วิจัยได้ สังเคราะห์องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้แนวคิดสมองเป็นฐาน องค์ประกอบสำคัญ 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) การวิเคราะห์ผู้เรียน 2) การวิเคราะห์หลักสูตร 3) การออกแบบการเรียนรู้ 4) การดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ที่ดี 5) บรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และ 6) การวัดผลและการประเมินผลที่ดี พบว่า ทั้งองค์ประกอบและตัวชี้วัดมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
- ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้แนวคิดสมองเป็นฐาน โดยรวม และ เป็นรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้แนวคิดสมองเป็นฐาน โดยรวมและเป็นรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
- โปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้แนวคิดสมองเป็นฐาน มีองค์ประกอบดังนี้ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการ และการประเมินผล เพื่อให้ครูใช้ในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้แนวคิดสมองเป็นฐาน ผู้วิจัยได้ออกแบบเนื้อหาของโปรแกรม โดยเน้นเนื้อหาตามค่าดัชนีความต้องการจำเป็นที่มีความต้องการอันดับแรก คือ ข้อ 1) การออกแบบการเรียนรู้ 2) การดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ที่ดี 3) การวัดผลและการประเมินผลที่ดี 4) บรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 5) การวิเคราะห์หลักสูตร 6) การวิเคราะห์ผู้เรียน ตามลำดับ วิธีการพัฒนา คือ 1) การฝึกปฏิบัติในงาน 2) การศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง และ 3) การประชุม อบรม สัมมนา โดยมีกิจกรรมการประเมินความรู้ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม และการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโปรแกรม และผลการตรวจสอบความเหมาะสมโปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้แนวคิดสมองเป็นฐาน โดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
พัฒนาการและการเรียนรู้ที่สอดคล้องสมองของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.
มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วรรณภา จัดสุวรรณ. (2556). การพัฒนาผลการการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ด้วย
การจัดกิจกรรมโดยใช้สมองเป็นฐานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม.
มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิโรจน์ ลักขณาอดิสร. (2550). การเรียนรู้ตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน. เข้าถึงได้ใน
http//www.se-edlearning.com/(10 มีนาคม 2560).
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2553). นวัตกรรมตามแนวคิดแบบ Backward Design. กรุงเทพฯ: ช้างทอง.
วิทยากร เชียงกูล. (2548). เรียนรูไวใชสมองอยางมีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร : อมรินทรพริ้นติ้งแอนด์
พับลิชชิ่ง.
ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์. (2545). สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร. กรุงเทพฯ :
องค์การค้าคุรุสภา.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์
การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ. (2549). การเรียนรู้ตามหลักการเรียนรู้ของสมอง. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
สมจิตร สายบุญลี. (2557). การพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานที่มีต่อการอ่าน
จับใจความการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อการเรียนภาษาไทยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Caine, R.N. & Caine, G. (1991). “Understanding a brain base approach to learning and
teaching” Education Leadership, 48(2), 66-70.
Castro, R.R. (1999). From Theory to Practice : A First Lock at Success for Life, A Brain
Research based Early Childhood Program. Dissertation Abstract International.
59(11) : 4049-A ; May.
Hoge, P.T. (2003). “The Integration of Brain-Based Learning and Literacy Acquisition,”
Dissertation Abstract International. 63(11) : 3884-A ; May.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1981). “Determining Sample Size for Research Activities”.
Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.
Weimer, Maryellen. (2008). Early identification and treatment of Alzheimer’s disease : Social and
Fiscal outcome. Alzheimer’s and Dementia, 36(2) : 2798-A ; April.