การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนภูเรือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 2) ศึกษาความคาดหวังและแนวทางการพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 3) ศึกษาผลการพัฒนาและเปรียบเทียบความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนภูเรือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 จำนวน 21 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบ 3) แบบทดสอบท้ายวงจร และ 4) แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิลคอกซัน
ผลการวิจัย พบว่า
- สภาพปัญหานักเรียนยังไม่เข้าใจเรื่องที่โจทย์กำหนดให้ ไม่รู้ว่าต้องใช้วิธีอะไรในการหาคำตอบ โจทย์ปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้นจะวิเคราะห์โจทย์ปัญหาไม่ได้ ขาดทักษะการคำนวณ ขาดลำดับขั้นตอนในการแก้โจทย์ปัญหา
- ผู้ให้ข้อมูลมีความคาดหวังอยากให้นักเรียนสามารถแก้โจทย์ปัญหาได้ด้วยตนเอง สามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหา หาคำตอบ และแก้โจทย์ปัญหาจากสถานการณ์ในชีวิตจริงได้ นักเรียนสามารถแก้โจทย์ปัญหาทางด้านคณิตศาสตร์ ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำร้อยละ 65 จากคะแนนเต็ม และนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำต้องจำนวน ร้อยละ 80 จากนักเรียนทั้งหมด แนวทางในการพัฒนา ผู้ให้ข้อมูลเสนอว่าควรจัดทำแบบฝึกโจทย์ปัญหาจากง่ายไปยาก โจทย์ปัญหาใกล้ตัวที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จัดหานวัตกรรมมาช่วยสอน ได้แก่ ชุดกิจกรรม แบบฝึกทักษะ บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ การวาดรูป บาร์โมเดล เวทคณิตแบบอินเดีย การ์ตูนโจทย์ปัญหาตามขั้นตอนของโพลยา สื่อจากอินเทอร์เน็ต กลุ่มสื่อการสอนคณิตศาสตร์ในเฟซบุ๊กหรือกลุ่มไลน์
- ผลการพัฒนา พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องโจทย์ปัญหา โดยภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ย 22.14 คิดเป็นร้อยละ 73.81 ของคะแนนเต็ม นักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 65 จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 85.71 ของนักเรียนทั้งหมด และผลการเปรียบเทียบ พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังที่ได้รับการพัฒนามีความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).จันทบุรี : สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
กรองทอง ไคริรี. (2544). แบบฝึกการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้บาร์โมเดล ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4.กรุงเทพฯ
: เอ ทีม บิสซิเนส.
เกษรา ภัทรเดชไพศาล.(2541). กิจกรรมเสริมทักษะการอ่านเขียนคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).เชียงใหม่ : สาขาวิชาการสอนภาษาไทยมหาวิทยาลัย เชียงใหม่.
โกสินทร์ โกมลไสย. (2556). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหา
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านฟากนา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย. (วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต). เลย : สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
จันทิมา บุญเทพ. (2560). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้น
ประถมศึกษาปีที่4 โรงเรียนบ้านห้วยส้มใต้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย
เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เลย : สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัย
ราชภัฏเลย.
นภดล กมลวิลาศเสถียร. (2549). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นวลฤทัย ลาพาเว. (2559). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตาม
กระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยาร่วมกับเทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงราย : สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาราชภัฏเชียงราย.
นิตยา ไพรสันต์. (2555). ผลการใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง
สารในชีวิตประจำวันที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนประจิมพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
พระนครศรีอยุธยา เขต 2 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นนทบุรี :
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปานทอง กุลนาถศิริ. (2547). สัมมนาหลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์ เอกสารประกอบการ เรียนวิชา
506712. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
โรงเรียนชุมชนภูเรือ. (2560 ก). แบบบันทึกข้อมูลการวัดและประเมินผลการเรียน (ปพ.5) ปีการศึกษา
2557 – 2559 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. เลย : โรงเรียนชุมชนภูเรือ.
วณัน ขุนศรี. (2549). เส้นทางสู่การปฏิรูปการเรียนการสอนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการชีวิตจริง : กรณีตัวอย่าง
คณิตศาสตร์. ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2549.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555 ก). การจัดการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์หลักสูตร
การศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2559).ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (NT).
http://180.180.244.45/ExamWeb/AnnouncementExams/NTSAnnouncement
Exams. aspx?mi=48 เข้าถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561.
Cheong,Y. K .(2009). The model method in Singapore. http://math.nie.edu.sg/.pdf
Retrieved March 4 , 2018.