ตัวบ่งชี้คุณลักษณะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 (เลย- หนองบัวลำภู)

Main Article Content

เตือนใจ สันหา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาตัวบ่งชี้คุณลักษณะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้คุณลักษณะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ระดับชั้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 (เลย-หนองบัวลำภู) กับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ 3 ในจังหวัดเลย  จำนวน  500 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงยืนยันอันดับสองและดัชนีความสอดคล้องของโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองของตัวบ่งชี้คุณลักษณะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3


            ผลการวิจัยพบว่า


1) ตัวบ่งชี้คุณลักษณะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการทำงาน ด้านการเรียนรู้ ด้านศีลธรรม โดยมีน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.31-0.92 ตัวบ่งชี้คุณลักษณะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีทั้งสิ้น 7 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ด้านการทำงาน ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง  0.19–0.37 องค์ประกอบที่ 2 ด้านการเรียนรู้ ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง  0.24–0.45 องค์ประกอบที่ 3  ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.17–0.36 ซึ่งทุกตัวบ่งชี้มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


2) ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้คุณลักษณะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า โมเดลองค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณลักษณะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์เท่ากับ 15.83 ที่องศาแห่งความเป็นอิสระเท่ากับ 9  ค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.07 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเท่ากับ 0.99 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้วเท่ากับ 0.97 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบเท่ากับ 0.99 และดัชนีค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่าเท่ากับ 0.03

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

คณะผู้วิจัย.(2556). คู่มือTOOLKIT FOR 21ST CENTURY. กรุงเทพฯ.
ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2553). การศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรมด้านความเป็นพลเมืองดีในสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษา. เชียงใหม่ : สำนักวิชาการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภัทราพร เกษสังข์. (2549). การวิจัยทางการศึกษา. เลย. ภาควิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
วิจารย์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ:ส.เจริญการพิมพ์
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และ อธิป จิตตฤกษ์ (แปล).( 2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อ
ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : Open Worlds.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. กรุงเทพฯ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2560).แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2560 - 2579กรุงเทพฯ :
บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
––––––––. (2542).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภา
ลาดพร้าว.
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2558). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ที่เน้นสมรรถนะสาขาวิชาชีพ . กรุงเทพฯ : สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
อริยาพร โทรัตน์ วัลนิกา ฉลากบาง และนิภาพร แสนเมือง. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะชีวิต
และอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ในวารสารวิถีสังคมมนุษย์. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม –
มิถุนายน.
อภิชา แดงจำรูญ. (2553) การพัฒนารูปแบบการทำโครงงานคุณธรรมโดยใช้แนวคิดการเรียนแบบร่วมมือ
บนเว็บ และการเขียนสะท้อนความดีผ่านเว็บบล็อกเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเคารพของนักเรียน
มัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.