การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง การเมือง การปกครองสมัยสุโขทัย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเชียงคาน จังหวัดเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัย 2) ศึกษาความคาดหวังและแนวทางการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) ศึกษาผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และ 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนกับหลังการพัฒนา กลุ่มเป้าหมาย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเชียงคาน จำนวน 44 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหา พบว่า นักเรียนมีผลการเรียนติด 0 ติด ร ค่อนข้างมากโดยเฉพาะประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบกับอาเซียน นักเรียนยังขาดกระบวนการคิดวิเคราะห์ ทักษะวิธีการทางประวัติศาสตร์ 2) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความคาดหวัง ให้นักเรียนผ่านไม่ติด 0 หรือ ร ลดลง ร้อยละ 5 คาดหวังให้นักเรียน มีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นกว่าเดิม เข้าใจประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบ มีผลสัมฤทธิ์อยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 60 และนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำต้องมีจำนวนร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด แนวทางการพัฒนา ครูควรจัดกิจกรรมการเรียนที่มีความสุข สนุกคิด สนุกตั้งคำถาม ใช้สื่อที่ช่วยในการเรียนรูปแบบต่างๆ เช่น การทำแผนผังความคิด วาดการ์ตูน วีดิทัศน์ ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ ใช้กิจกรรมเชิงการคิดวิเคราะห์ กิจกรรมเปิดรหัส โครงงาน จัดกิจกรรม Active Learning และศึกษาในสถานที่จริงหรือดูละครประวัติศาสตร์ 3) ผู้วิจัยดำเนินการพัฒนา 2 วงจร หลังการดำเนินการนักเรียนผ่านเกณฑ์ประเมิน จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 84.09 ส่วนเรื่องการปกครองสมัยสุโขทัย นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินจำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 88.64 ของนักเรียนทั้งหมด และ 4) ผลการเปรียบเทียบนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังที่ได้รับการพัฒนามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.
กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
_______. (2560). การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ :
องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
จริยา เหนียนเฉลย. (2546). เทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2555). 80 นวัตกรรม การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 5.
กรุงเทพฯ : แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประหยัด จิระวรพงศ์. (2527). หลักการและเทคโนโลยีทางการศึกษา. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก.
ปิยากร แสนซ้าย. (2559). การพัฒนาผลการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ
โครงงานร่วมกับวิธีการทางประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
เพราพรรณ โกมลมาลย์. (2541). หลักสูตรการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. วารสารวิชาการ, 1
(11) : 67 - 69.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2548). การสอนคิดด้วยโครงงาน. กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ระเบียบ วิชัยต๊ะ. (2555). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์เพื่อพัฒนา
ทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประวัติศาสตร์ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
โรงเรียนเชียงคาน. (2558-2560). แบบบันทึกข้อมูลการวัดและประเมินผลการเรียน(ปพ.5)
ปีการศึกษา 2558 – 2560. เลย : โรงเรียนเชียงคาน.
_______. (2559). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนเชียงคาน ปี 2559. เลย : โรงเรียน
เชียงคาน.
. (2560 ก). แผนปฏิบัติการของโรงเรียนเชียงคาน. เลย : โรงเรียนเชียงคาน.
_______. (2560 ข). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนเชียงคาน ปี 2560. เลย : โรงเรียน
เชียงคาน.
วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2543). ครูกับการสอนประวัติศาสตร์ไทยในประวัติศาสตร์ไทย : จะเรียนจะ
สอนกันอย่างไร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ศาสนา.
สิรินยา หอศิลาชัย. (2552). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และ
วัฒนธรรม สาระภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนชุมชนบ้าน
หัวขัว โดยใช้แบบฝึกทักษะการเรียน. ขอนแก่น : สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สืบแสง พรหมบุญ. (ม.ป.ป.). การศึกษาประวัติศาสตร์จากหลักฐานประเภทบอกเล่าในเอกสารรวม
บทความทางประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : ฝ่ายวิจัยสถาบันไทยคดีศึกษา.
สุรางค์รัตน์ ตรีเหรา. (2547). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และบทเรียนโปรแกรม เรื่อง
ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชามัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล. (2522). สถานะวิชาประวัติศาสตร์ในปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : สมาคม
ประวัติศาสตร์แห่งประเทศไทย.
อรญา นิชรัตน์. (2551). การพัฒนาชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม
ศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่องประวัติศาสตร์เมืองอุบลราชธานี สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและ
การเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
อัจฉรา อินทร์น้อย. (2555). ผลการสอบโดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบแผนที่ความคิดที่มีต่อ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
(ฝ่ายประถม) : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร: โรงเรียนสาธิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Buzan, T. (1977). The mind map book: Radiant thinking. London: BBC Book.