การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การเขียนบทร้อยกรอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

กัญณภัทร แสนพวง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การเขียนบทร้อยกรอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนบทร้อยกรอง 3) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนบทร้อยกรองก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การเขียนบทร้อยกรอง และ 4)  ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนบทร้อยกรอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 46 คน โรงเรียนบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์  สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา  2560  ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบวัดความสามารถในการเขียนบทร้อยกรอง และ แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Sample) สรุปผลการวิจัยได้ว่า  1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การเขียนบทร้อยกรอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  มีประสิทธิภาพ 86.48/90.22  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้  80/80  2)  ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนบทร้อยกรอง คิดเป็นร้อยละ 76  3) นักเรียนมีความสามารถในการเขียนบทร้อยกรอง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนบทร้อยกรอง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
กัลยา หวังปัญญา. (2551). การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปวิชาภาษาไทย เรื่อง โคลงสี่สุภาพสำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์การศึกษา
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ฉลอง ทับศรี. (2540). การออกแบบระบบการเรียนการสอน. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2540). ชุดการสอนระดับประถมศึกษา. ในเอกสารการสอนชุดสื่อการสอน ระดับ
ประถมศึกษาหน่วยที่ 8-15. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.
ทิศนา แขมมณี. (2543). ชุดกิจกรรมการสอนและการฝึกทักษะกระบวนการกลุ่มชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.
กรุงเทพฯ : ภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิภา เพชรสม. (2545). หลักสูตรและการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคคล. โครงการตำราวิชาการ
ราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ. สถาบันราชภัฏเพชรบุรี.
พิมพ์สุพร สุนทรินทร์. (2554). การพัฒนาชุดการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนโคลงสี่สุภาพ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
(การสอนภาษาไทย) มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เพ็ญนภา เพ็งวิสาภาพพงษ์. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมเรื่อง การแต่งคำประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพ
โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค LT สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.
วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุริรัมย์.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2554). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 7.
นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2545). เอกสารพัฒนาการเรียนการสอนกลุ่มภาษาไทย.
กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
สุจริต เพียรชอบ และสายใจ อินทรัมพรรย์. (2538). วิธีสอนภาษาไทยในระดับมัธยมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิทย์ นวลสังข์ทอง. (2554). การสร้างชุดการสอนวิชาภาษาไทยเรื่อง “การแต่งโคลงสี่สุภาพ” สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ.
อภิชาติ ชมภูทัศน์. (2556.) การสร้างชุดการเรียนการสอนแต่งโคลงสี่สุภาพโดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ
ของเคแกน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม.
Brown, D. H. (1980). Principle of language learning and teaching. New Jersey : Prentice-Hall.
Herzberg, Frederick. (1959). The Motivation to Work. New York : John Wiley and Sons.