ผลของกลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาแนวพุทธต่อสุขภาวะทางจิต ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

Main Article Content

ชนิดา ตันไพบูลย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษา แนวพุทธต่อสุขภาวะทางจิตของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลองที่มีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยมีการทดสอบก่อนและหลัง สมมติฐานการวิจัย คือ (1) หลังการทดลองคะแนนสุขภาวะทางจิตของนักศึกษาในกลุ่มทดลองที่เข้ากลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาแนวพุทธสูงกว่านักศึกษาในกลุ่มควบคุม (2) หลังการทดลองคะแนนสุขภาวะทางจิตของนักศึกษาในกลุ่มทดลองที่เข้ากลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาแนวพุทธสูงกว่าก่อนการทดลอง ประชากรเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษที่ลงทะเบียนเรียนกับผู้วิจัยในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ในรายวิชาจิตวิทยาประยุกต์สำหรับครูและพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาจากกลุ่มประชากรที่ได้ทำแบบวัดสุขภาวะทางจิตที่พัฒนาโดย ยุวดี เมืองไทย (2551) ซึ่งมีผลจากการทำแบบวัดได้คะแนนน้อยที่สุดและยินยอมเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 40 คน เลือกแบบสุ่มเข้ากลุ่ม ทั้งหมด 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม มีนักศึกษา 20 คน และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม มีนักศึกษา 20 คน จากนั้นนำนักศึกษากลุ่มทดลอง เข้ากลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาแนวพุทธ โดยมีระยะเวลาดำเนินกลุ่ม 16 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดสุขภาวะทางจิตที่พัฒนาโดย ยุวดี เมืองไทย (2551) และแบบประเมินตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลจากการทำแบบวัดสุขภาวะทางจิต ใช้สถิติทีแบบกลุ่มเป็นอิสระต่อกัน และสถิติทีแบบกลุ่มไม่เป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมินตนเองของสมาชิกหลังเข้ารับการทดลอง 


            ผลการวิจัยพบว่า


  1. หลังการทดลอง คะแนนสุขภาวะทางจิตของนักศึกษาในกลุ่มทดลองที่เข้ากลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาแนวพุทธ สูงกว่านักศึกษาในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  2. หลังการทดลอง คะแนนสุขภาวะทางจิตของนักศึกษาในกลุ่มทดลองที่เข้ากลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาแนวพุทธ สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

  3. ข้อมูลเชิงคุณภาพ แสดงว่า หลังการเข้ากลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาแนวพุทธ สมาชิกรายงานความรู้สึกและประสบการณ์การมีสุขภาวะทางจิต ได้แก่ ความเป็นตัวของตัวเอง ความสามารถในการจัดการสิ่งแวดล้อม การมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น การมีจุดมุ่งหมายในชีวิต การยอมรับในตนเอง และการมีความงอกงามในตน

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กนิษฐา ต้นโพธิ์ทอง. (2550). รายงานการฝึกงานการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ณ. ศูนย์บริการนักศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. รายงานการฝึกงาน สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จรินทิพย์ โคธีรานุรักษ์.( 2551). ผลของกลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาแนวพุทธต่อความเอื้อเฟื้อของนักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นปีที่1. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2561 จาก www.tnrr.in.th/?page=result_search&record_id=208738
จิระสุข สุขสวัสดิ์. (2558). การศึกษาผลของกลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาแนวพุทธเพื่อส่งเสริมการเผชิญปัญหาและความสุขของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ.(ออนไลน์).สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2561 จาก https://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/article_detail.php?ArticleID=160397
ชนิดา ตันไพบูลย์ และคณะ. (2557). ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยแบบกลุ่มพัฒนาตนที่มีต่อพฤติกรรมการกล้าแสดงออกของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. งานวิจัยและพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏ
ศรีสะเกษ.
ชมพูนุท ศรีจันทร์นิล. (2549). รายงานการฝึกงานการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ณ.ศูนย์บริการนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. รายงานการฝึกงาน สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรวรรธ ธนะพานิช. (2550). รายงานการฝึกงานการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. รายงานการฝึกงาน สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นฤมล วิจารณกุล. (2550). รายงานการฝึกงานการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ณ.ศูนย์บริการนักศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. รายงานการฝึกงาน สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิลภา สุขเจริญ. (2550). รายงานการฝึกงานการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ณ.กองร้อยบริการ กรมการสารวัตรทหารบก. รายงานการฝึกงาน สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประเวศ วะสี.(2535). การเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคมที่มีผลต่อการอุดมศึกษา.รายงานการประชุมทางวิชาการอุดมศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 1 (28-29 กรกฎาคม):17.
ยุวดี เมืองไทย.(2551).ผลของกลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาแนวพุทธต่อสุขภาวะทางจิตของผู้ป่วยยาเสพติดที่อยู่ในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ.บัณฑิตวิทยาลัย.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรัปสร โรหิตะบุตร. (2549). ผลของกลุ่มพัฒนาตนต่อสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิชัย ตันศิริ. (2542). โฉมหน้าการศึกษาไทยในอนาคตแนวคิดสู่การปฏิรูปในพระราชบัญญัติการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิมลรัตน์ ปฏิพัทธ์วุฒิกุล. (2555). ผลของกลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาแนวพุทธที่มีต่อการริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตนและการเผชิญปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย.(ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2561 จาก https://info.rdi.ku.ac.th/ThailandResearch/?itemID=544719
สหรัฐ เจตมโนรมย์. (2548). รายงานการฝึกงานการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ณ. ศูนย์บริการนักศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. รายงานการฝึกงาน สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โสรีช์ โพธิแก้ว.(2531).การปรึกษาเชิงจิตวิทยา.เอกสารประกอบโครงการ Pre-Counseling Practicum Workshop.กรุงเทพมหานคร:ภาควิชาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.(อัดสำเนา).
Fisher, A. G. (1992). Functional measure part 1: What is function, what should we ensure, and how should we measure it ?. The American Journal of Occupation Therapy. 46 (5), 183-185
Trotzer,J.P.(1977).The Counselor and the Group:Integrating Theory Training and Practice.California:Wadsworth.