ทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

อิทธิศักดิ์ ศิริจันทร์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา และนำเสนอรูปแบบของการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยประกอบไปด้วย 4 หัวข้อ คือ 1) ความหมายและองค์ประกอบของทักษะในศตวรรษที่ 21  2) ความหมายและความสำคัญของทักษะการสื่อสารในศตวรรษที่ 21  3) ความสำคัญของทักษะการสื่อสารที่มีต่อผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 และ 4) รูปแบบและระดับของการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของผู้บริหารสถานศึกษา ทักษะการสื่อสารเป็นทักษะที่สำคัญอย่างยิ่งของผู้นำและผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยผู้บริหารสถานศึกษาต้องเลือกใช้รูปแบบและระดับของการสื่อสารให้เหมาะสมต่อสถานการณ์ มิเช่นนั้นอาจเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคลากร หรือระหว่างบุคลากรกับองค์กร จนนำมาสู่ความล้มเหลวของการบริหารสถานศึกษาได้  ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องเรียนรู้และฝึกฝนให้สามารถใช้ทักษะการสื่อสารอย่างเชียวชาญเพื่อลดปัญหาดังกล่าว ตลอดจนเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และความเชื่อมั่นให้กับผู้บุคลากรในสถานศึกษา เกิดความร่วมมืออย่างแข็งขันในการดำเนินการต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ สามารถยืนหยัดอย่างมั่นคงต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21

Article Details

บท
Academic Articles (บทความวิชาการ)

References

กมลรัฐ อินทรทัตน์. (2547). การสื่อสารกับการพัฒนา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์ คุรุสภาลาดพร้าว.
กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.
จรัสโฉม ศิริรัตน์. (2559). ปัญหาการติดต่อสื่อสารของบุคลากรในองค์กร: กรณีศึกษาสำนักหอสมุด กลาง
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารบรรณศาสตร์ มศว. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม -
มิถุนายน 2559.
พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2560). ภาวะผู้นำกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. วารสาร มจร การพัฒนา สังคม. ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2560.
แพรดาว สนองผัน และ เสาวนี สิริสุขศิลป์. (2557). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปีที่ 37 ฉบับที่ 4 ตุลาคม – ธันวาคม 2557.
รังสาด จันทรวิสูตร์. (2548). การศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร
โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิจารณ์ พานิช. (2556). บทบาทของผู้อำนวยการโรงเรียน ต่อชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์. กรุงเทพมหานคร:
ซีโนพับลิชชิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ทิพยวิสุทธิ์.
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และคณะ. (2556). ปฏิรูปการศึกษาขันพื้นฐานเพื่อการเรียนรู้แห่งศตวรรษ ที่ 21.
กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สมยศ นาวีการ. (2536). การบริหาร: Management. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ดอกหญ้า.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2552). ทฤษฎีและพฤติกรรมการสื่อสาร. (พิมพ์ครั้งที่ 2).
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สาธิต วิมลคุณารักษ์ และประยงค์ เนาวบุตร. (2546). ประสบการณ์วิชาชีพประกาศนียบัตรบัณฑิต ทางการ บริหารศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักข่าวทีนิวส์. (2561). ผอ.รร.บ้านปากน้ำ แจงการสื่อสารผิดพลาด ระบุภาพโต๊ะเก้าอี้ เป็นครุภัณฑ์รอ จำหน่ายตามปีงบประมาณ เผย รร.ได้รับงบประมาณอย่างต่อเนื่อง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
https://www.77jowo.com/contents/106207.
สุธีกานต์ หนูคง และวลัยพร รัตนเศรษฐ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการติดต่อสื่อสารกับ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของกลุ่มงานด้านพิธีการสินเชื่อภายในศูนย์สินเชื่ออุปโภค บริโภค. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร : สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
เสนาะ ติเยาว์. (2541). การสื่อสารในองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เสาวนีย์ กูณะกูง และฉัตรทิพย์ สุวรรณชิน. (2558). การสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาในการดำเนินงานโรงเรียน
ของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาแม่แตง 1 อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่.
วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2558.
อภิชญา อยู่ในธรรม. (2557). การสื่อสาร กระบวนการทำงาน ปัญหาและอุปสรรคของฝ่ายบริหารงาน ลูกค้าบริษัทตัวแทนโฆษณา. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิต.
ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2557 .
อรอนงค์ สวัสดิ์บุรี. (2555). พฤติกรรมและการสื่อสารภายในองค์กร. กรุงเทพมหานคร:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อัญชลี กีสี. (2551). การศึกษารูปแบบการติดต่อสื่อสารของผู้บริหารและครูหัวหน้ากลุ่มสาระโรงเรียน
ในเครือพระแม่มารี. (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร :
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Barrett, D.J. (2006). Leadership Communication: A communication Approach for Senior-Level Managers. Handbook of Business Strategy Emerald Group Publishing.
Kotter, J.P. (1996). Leading Change. Boston, MA: Harvard Business School Press.
Lamb, S., Maire, Q., and Doecke, E. (2017). Key Skills for the 21st Century:
an evidence-based review. Melbourne: Victoria University.
Yang, P. (2011). A Literature Review of the Skills Required by 21st Century School Administrators. An Applied Research Project, Degree of Master of Business Administration, Athabasca University.