การลดการสูญเสียน้ำหนักในกระบวนการลำเลียงใบอ้อยอัดก้อนเหลี่ยมไปยังโรงไฟฟ้าชีวมวล: กรณีศึกษาธุรกิจรวบรวมใบอ้อยเพื่อเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

ธนพงศ์ สุวรรณโรจน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากิจกรรมในกระบวนการลำเลียงใบอ้อยอัดก้อนเหลี่ยม รวมถึงเพื่อวิเคราะห์หากิจกรรมที่ทำให้เกิดการสูญเสียน้ำหนักวัดการสูญเสียน้ำหนักรวมทั้งสาเหตุที่ทำให้เกิดการสูญเสียน้ำหนักในแต่ละกิจกรรม และเพื่อเสนอแนวทางการลดการสูญเสียน้ำหนัก ในกระบวนการลำเลียงใบอ้อยอัดก้อนเหลี่ยม โดยศึกษาจากธุรกิจรวบรวมใบอ้อยเพื่อเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเก็บและรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่มผู้มีส่วนร่วมคือ ผู้บริหารระดับผู้จัดการ 4 ราย พนักงานฝ่ายไร่และโรงไฟฟ้าชีวมวล 15 ราย คนขับรถคีบก้อนใบอ้อย 3 ราย คนขับรถบรรทุกก้อนใบอ้อย 8 รายรวมทั้งสิ้น จำนวน 30 รายและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยผังกระบวนการ IDEF0 Endraw Max Version 9.3  และวิเคราะห์ด้วยสูตรสมการวัดการสูญเสียน้ำหนัก ร่วมกับ Why–Why Analysis รวมถึง How - How Analysis และแผนภูมิต้นไม้ ผลจากการศึกษากิจกรรมในกระบวนการลำเลียงใบอ้อยอัดก้อนเหลี่ยม พบว่า ประกอบด้วยกิจกรรมทั้งหมด 10 กิจกรรม เมื่อวิเคราะห์หากิจกรรมที่ทำให้เกิดการสูญเสียน้ำหนัก พบว่าเกิดในกิจกรรมตั้งแต่อัดก้อนใบอ้อย รอคอยคิวเก็บก้อนใบอ้อยในไร่ คีบก้อนใบอ้อยขึ้นรถบรรทุก  และขนย้ายก้อนใบอ้อยจากไร่ไปยังโรงไฟฟ้าชีวมวล ผลจากการวัดปริมาณการสูญเสียน้ำหนักในแต่ละกิจกรรม พบว่ากิจกรรมรอคอยคิวเก็บใบอ้อยในไร่เกิดการสูญเสียน้ำหนักมากที่สุดถึงร้อยละ 1.10 โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดการสูญเสียน้ำหนักมาจากไฟไหม้ใบอ้อยอัดก้อนเหลี่ยมผลจากการเสนอแนวทางการลดการสูญเสียน้ำหนักในกระบวนการลำเลียงใบอ้อยอัดก้อนเหลี่ยม พบว่า 4 แนวทาง ได้แก่แนวทางที่ 1 อบรมผู้รับเหมาอัดใบอ้อยให้มีความชำนาญ แนวทางที่ 2 เก็บใบอ้อยที่ค้างไร่ให้เร็วขึ้นไม่เกิน 5 วันแนวทางที่ 3 อบรมผู้รับเหมาคีบใบอ้อยให้มีความชำนาญแนวทางที่ 4 อบรมผู้รับเหมาขนย้ายใบอ้อยให้มีความชำนาญสามารถลดปริมาณการสูญเสียน้ำหนักได้จาก 626.40 เป็น 74.05 ตันต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละที่ลดลงได้ถึง 83.79 ส่งผลทำให้มูลค่าการสูญเสีย ลดลงได้ถึง 552,350 บาท ผลจากการศึกษานี้ สามารถนำไปเป็นข้อเสนอแนะในการวางแผนมาตรการป้องกันสูญเสียน้ำหนักในกระบวนการลำเลียงใบอ้อยอัดก้อนเหลี่ยมได้ต่อไป โดยเพิ่มความเข้มข้นในแต่ละแนวทางทั้ง4 ข้อ คือ 1.อบรมผู้รับเหมาอัดใบอ้อยให้ชำนาญการพิเศษทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ 2.เก็บก้อนใบอ้อยที่ค้างไร่ไม่เกิน 3 วัน 3.อบรมผู้รับเหมาคีบใบอ้อยให้ชำนาญการพิเศษทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ 4.อบรมผู้รับเหมาขนย้ายใบอ้อยให้มีความชำนาญทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน.(2558).ศักยภาพชีวมวลในประเทศไทย.30 มีนาคม 2558. แหล่งที่มา:http://www4.dede.go.th/testmax/sites/default/files/ฐานข้อมูลศักยภาพชีวมวล ในประเทศไทยประจำปีเพาะปลูกพ.ศ.2556. กรมส่งเสริมสหกรณ์.(2554).การลดการสูญเสียน้ำหนักในการรวบรวมปาล์มน้ำมันของเกษตรกร.รายงาน ข้อมูลปริมาณธุรกิจสหกรณ์ในจังหวัดตรัง.(1) 22-32 ชุติพงศ์ มัธยกุล.(2555).การวิเคราะห์ต้นทุนและความสูญเสียจากการขนส่งสินค้าเกษตร. กรณีศึกษาการ ขนส่งผัก กะหล่ำปลีในจังหวัดเชียงใหม่.(วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต): กรุงเทพฯ.คณะวิศวกรรมศาสตร์.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ธัญญารัตน์ สุทธิประภา,ทศพร มะหะหมัด และชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา.(2561).การธำรงรักษาพนักงานในนิคม อุตสาหกรรมอัญธานี.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.12 (1) 59-69
ฝ่ายบริหารเชื้อเพลิง บริษัท มิตรผล ไบโอ-เพาเวอร์ จำกัด. (2561). ธุรกิจรวบรวมใบอ้อยที่ ดำเนินการในประเทศไทย ประจำปี 2561. ชัยภูมิ: โรงไฟฟ้ามิตรผลภูเขียว. พิเชษฐ์ น้อยมณี. (2556).การประเมินการสูญเสียผลฟักทองญี่ปุ่นหลังการเก็บเกี่ยว.วิทยาศาสตร์การเกษตร. 45,3/1(พิเศษ) :277-280
พิเชษฐ์ น้อยมณี. (2557).การประเมินการสูญเสียในกระบวนการหลังการจัดการเก็บเกี่ยวของผลลำใยพันธ์ ดอ.ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว.12,(4) :1-7 สิริกร พรหมปิงกา.(2560).การนำเข้าข้อมูล ความรู้ความสามารถของบุคลากรขีดความสามารถของ เทคโนโลยีและการสนับสนุนของผู้บริหารส่งผลต่อประสิทธิผลของระบบ GFMIS ของผู้ปฏิบัติงานใน สถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา.วิทยาการสมัยใหม่.10,(1):49-64 สุภางค์ จันทวานิช. (2561). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 13: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรัตน์ นักหล่อ,จักรพงษ์พิมพิมล.(2555). การสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยวปวยเล้งหลังการเก็บเกี่ยวจาก แปลงเกษตรกร.(วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต).เชียงใหม่:คณะวิศวกรรม อุตสาหกรรมการเกษตร.มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Dawson, L., &Boopathy, R. (2007). Use of post-harvest sugarcane residue for ethanol production. Bioresource technology, 98(9), 1695-1699.
Hussain, M. N., Jamali, L. A., Soomro, S. A., Chattha, S. H., Ibupoto, K. A., Abbasi, N. A., & Qumi, N. M. (2018). Post-Harvest losses and control of unprocessed sugarcane. Pakistan Journal of Agricultural Research, 31(4), 355-360.
Wills, R.B.H., McGlasson, W.B., Graham, D. & Joyce, D.C. (1998). Postharvest an introduction to the physiology and handling of fruit, vegetables and ornamentals. University of New South Wales Press Ltd. Australia. Wyman, C.E., 1996. Chapter 1. Ethanol production from lignocellulosicbiomass: overview. In: Wyman, C.E. (Ed.), Handbook on bioethanol:production and utilization. Taylor & Francis, Washington, DC, pp.11–12.