ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 : การวิเคราะห์พหุระดับ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยระดับนักเรียนที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยระดับโรงเรียนที่ส่งผลต่อค่าเฉลี่ยและสัมประสิทธิ์การถดถอย ของพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียน และ 3) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่าง คือ จำนวน 64 คนและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 800 คน การวิเคราะห์ข้อมูลการหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์การกระจาย ความเบ้ ความโด่ง สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์พหุระดับ
ผลการวิจัย พบว่า
- ปัจจัยระดับนักเรียนส่งผลทางบวก ทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ค่านิยมทางเพศ อิทธิพลจากสื่อและเทคโนโลยี และอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อน และปัจจัยระดับนักเรียนส่งผลทางลบ ทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ลักษณะมุ่งอนาคต
- ปัจจัยระดับโรงเรียนส่งผลทางลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษา และตัวแปรระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนส่งผลทางลบ ต่อสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปรอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- สมการพยากรณ์พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในรูปคะแนนมาตรฐาน
สมการพยากรณ์ระดับนักเรียน
Z¢SEXij = -0.395(ZFUT) + 0.172(ZVAL) + 0.362(ZTECH) + 0.157(ZFRIE)
สมการพยากรณ์ระดับโรงเรียน
Z¢b01 = -0.072(ZHELP) - 0.124(ZPLAN)
Z¢bFRIE = -0.110(ZHELP)
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2556). การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: วีพรินท์.
ณฐาภพ ระวะใจ. (2554). ปัจจัยทีส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันการเสี่ยงทางเพศของนักศึกษา
ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร .
ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ณิชาภัทร ปุ่นมีกิจ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเมืองพัทยา. สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
นิรันดร์ จุนทรัพย์. (2558). การแนะแนวเพื่อพัฒนาผู้เรียน. สงขลา : คณะศึกษาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ประพิมพร อันพาพรหม. (2543). การศึกษาค่านิยมทางเพศและพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาพลศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แพรวนภา ธรรมเนียมต้น. (2553). การปฏิบัติตามกระบวนการกำหนดนโยบายการศึกษาของ
องค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภัทราพร เกษสังข์. (2556). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของการเตรียมความพร้อมด้านทักษะหลักที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. เลย: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
_______. (2558). รูปแบบเส้นทางอิทธิพลเชิงสาเหตุของความับผิดชอบต่อสังคมของนักศึกษา
ระดับปริญญาตรีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วาสารวิธีวิทยาการวิจัย, 28(3):
341-363.
ยอดแก้ว แก้วมหิงสา. (2557). การจัดการเรียนรู้เพศศึกษาตามแนวคิดของแครทวอลเพื่อสร้างเสริมความตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนประถมศึกษา. สุขศึกษาและพลศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุพิน รุ่งแจ้ง. (2533). การวิเคราะห์สภาพการจัดหลักสูตรเพศศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญศึกษา. ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
วรา เหลืองชัยกุล. (2555). กระบวนการเรียนรู้ทางสังคมที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรส :
กรณีศึกษานักศึกษาระดับปริญญาตรี. สารนิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาพัฒนาการ).
กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วัชราภรณ์ บัตรเจริญ และคณะ. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียน ไทย ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ ปีที่ 42 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน)
สุนันทา ประทุมรัตน์. (2553). การพัฒนาครูด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านม่วง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพันธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุมาลี สวยสอาด. (2555). เพศศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์ (2552). สุขภาวะของเด็กวัยรุ่นไทยอายุ 13-18 ปี.ใน วันดี นิงสานนท์ และคณะ (บรรณาธิการ), สุขภาวะของเด็กและวัยรุ่นไทย พ.ศ. 2552 (หน้า 161-188). กรุงเทพฯ: บิยอนด์เอ็นเตอร์ไพรซ์.
อรวรรณ เกษสังข์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความพอเพียงของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.