ผลการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การคิดแก้ปัญหาแบบฮิวริสติกส์ (Heuristics) เรื่อง เศษส่วน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

จำเนียร เหมาะสมาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การแก้ปัญหาแบบฮิวริสติกส์กับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ  (2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การแก้ปัญหาแบบฮิวริสติกส์กับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561  จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 40 คน วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) แล้วจับฉลากเลือกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การคิดแก้ปัญหา
แบบฮิวริสติกส์ แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง และแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นการคิดแก้ปัญหาแบบ
ฮิวริสติกส์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  (2) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นการคิดแก้ปัญหาแบบฮิวริสติกส์ มีความคิดสร้างสรรค์ที่แตกต่างกันกับนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ อย่างนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05
ในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านการคิดคล่อง  ความคิดยืดหยุ่น และความคิดริเริ่ม  

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่สอง พ.ศ. 2555-2564.
กรุงเทพฯ : สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.
กัลยา ปัญญาวัฒน์ธนกุล. (2556). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
โดยใช้ทักษะการคิดแบบฮิวริสติกส์เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาสมการของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน,
คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
ขอบใจ สาสิทธิ์. (2545). ผลของการเรียนการสอนโดยเน้นการคิดแบบฮิวริสติกส์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
และความสามารถในการใช้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.
(วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เจษฎา รัตนบรรเทิง. (2558). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน
โดยใช้การแก้ปัญหาแบบฮิวริสติกส์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาการสอน
คณิตศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชลดา ห้องแซง. (2557). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
โดยใช้เทคนิคระดมสมองที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง ทศนิยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.
(วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทิศนา แขมมณี. (2551). พิมพ์ครั้งที่ 8. ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นวลทิพย์ นวพันธ์. (2552). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นการคิดแบบฮิวริสติกส์ที่มีต่อ
ความคิดสร้างสรรค์ความสามารถในการตั้งและแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปนัดดา แก้วสะเทือน. (2554). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาที่มีต่อความสามารถใน
การแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.
(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยสารคาม.
พัทยากร บุสสยา. (2559). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด ที่มีต่อความสามารถในการ
แก้ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.
(วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิจิตรา สิทธิวงค์. (2557). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา เรื่อง ความน่าจะเป็นที่มีต่อผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน คณิตศาสตร์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพร้าว วิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่.
(วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เริงชัย ดำสุวรรณ. (2553). ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาปลายเปิดเรื่องฟังก์ชันเพื่อ
ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยสุราษฎร์ธานี.
(วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุชาดา สอดแสงอรุณงาม. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 2 เรื่อง “การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว” โดยเน้นการคิดแบบฮิวริสติกส์
โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัด นครปฐม. (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการสอน
คณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
อุทัยรัตน์ เอี่ยมศรี. (2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้
คอนสตรัคติวิสต์ โดยใช้เทคนิคระดมสมองและโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad
เป็นเครื่องมือช่วยในการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อุษาวดี จันทรสนธิ (2556). พิมพ์ครั้งที่ 2. สารัตถะและวิทยวิถีทางคณิตศาสตร์ (หน่วยที่ 11-15).
นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Krulik Stephen, Rudnick Jesse A. (1996). The New Sourcebook for Teaching Reasoning and
Problem Solving in Junior and Senior High School. Massachusetts. Allyn and
Bacon: A Simon & Schuster.
Wilson, J. W., Fernandez, M. L. & Hadaway, N. (1993). Mathematic Problem Solving. In
P.S. Wilson (Ed.), Research ideas for the Classroom : High School Mathematics.
Reston, VA : National Council of Teachers of Mathematics.