แนวทางการพัฒนาห้องสมุดที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้ห้องสมุดของนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาห้องสมุดที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มตัวอย่างในการเก็บแบบสอบถาม คือ นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร จำนวน 370 คน โดยการเทียบสัดส่วนแยกตามสถานภาพ ผู้วิจัยเจาะจงเฉพาะผู้ที่เคยเข้าใช้บริการห้องสมุด จากการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ กลุ่มที่ 2 กลุ่มเป้าหมายผู้ให้สัมภาษณ์เชิงลึก คือ ผู้บริหาร อาจารย์ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ผู้ใช้บริการห้องสมุด จำนวน 13 คน กลุ่มที่ 3 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม คือ ผู้บริหาร อาจารย์ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำเสนอผลการวิจัยดังนี้
- พฤติกรรมการใช้ห้องสมุดของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พบว่า มีความถี่ในการเข้าใช้บริการห้องสมุด 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยส่วนใหญ่เข้าใช้บริการในช่วงเวลา 13.00 – 16.30 น. และเวลาที่เข้าใช้บริการโดยเฉลี่ยแต่ละครั้ง 2 ½ - 3 ชั่วโมง เหตุผลอันดับหนึ่งในการเข้าใช้บริการห้องสมุด คือ เพื่ออ่านหนังสือและสิ่งพิมพ์ต่างๆ ภายในห้องสมุด และเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ส่วนพฤติกรรมการใช้ห้องสมุดของอาจารย์ และบุคลากร พบว่า มีความถี่ในการเข้าใช้บริการห้องสมุด 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยส่วนใหญ่เข้าใช้บริการในช่วงเวลา ช่วงเวลา 08.30 -13.00 น. และเวลาที่เข้าใช้บริการโดยเฉลี่ยแต่ละครั้ง 2 ½ - 3 ชั่วโมง เหตุผลอันดับหนึ่งในการเข้าใช้บริการห้องสมุด คือ เพื่อใช้บริการอินเทอร์เน็ต และ เพื่อใช้เป็นสถานที่ค้นคว้าสารสนเทศทำวิจัย ทำผลงานวิชาการ
- การบริหารจัดการ และการให้บริการของห้องสมุดที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษามหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีมาตรฐานตามข้อกำหนดมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ห้องสมุดควรมีแนวทางในการพัฒนา 8 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านโครงสร้างและการบริหารงาน 2) ด้านงบประมาณและการเงิน 3) ด้านบุคลากร 4) ด้านทรัพยากรสารสนเทศ 5) ด้านอาคารสถานที่ และครุภัณฑ์ 6) ด้านการบริการ 7) ด้านความร่วมมือระหว่างห้องสมุด และ 8) ด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
ฐานราก. (วิทยานินพธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต.) ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทรงพันธ์ เจิมประยงค์. (2552). การให้บริการห้องสมุดสมัยใหม่: แนวโน้มในปัจจุบันและความท้าทาย
ในอนาคต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บานชื่น ทองพันชั่ง. (2554). แนวโน้มการพัฒนาห้องสมุดในสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักหอสมุด
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พรรพรรณ จันทร์แดง. (2557). ห้องสมุดยุคใหม่ (Modern Library). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ภาษิณี ปานน้อย. (2553). การบริการสารสนเทศเชิงรุกของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ. (วิทยานิพนธ์
ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มัลลิกา ทองเอม. (2559). แนวทางการพัฒนาห้องสมุดที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
แม่สอด. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ลันดา สิทธิจักร และจิราภรณ์ จันทร์อารักษ์. (2551). ความพึงพอใจของอาจารย์และนักศึกษาต่อการใช้บริการ
ห้องสมุดวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี. ชลบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี.
ลำพึง บัวจันอัฐ. (2560). การจัดบริการสารสนเทศเชิงรุกของห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ. ศรีสะเกษ:
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
. (2559). ความคาดหวังของบุคลากรสายวิชาการต่อคุณภาพบริการของห้องสมุดมหาวิทยาลัย
ราชภัฏศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
วรพจน์ วีรพลิน. (2550). ความต้องการรูปแบบห้องสมุดที่พึงประสงค์ของบุคลากร และนักศึกษามหาวิทยาลัย
ราชภัฎสวนสุนันทา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ศุมรรษตรา แสนวา. (2562). แนวทางการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไปสู่องค์การคุณภาพ. ขอนแก่น:
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย. (2544). ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง มาตรฐานห้องสมุดสถาบัน
อุดมศึกษา พ.ศ. 2544. สืบค้น 27 พฤศจิกายน 2561. จาก http://www.mua.go.th
สายธาร สุเมธอธิคม, โสภา ไทยลา และบัวระภา กลยนีย์. (2556). ระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินคุณภาพ
การบริการของห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยใช้ LibQUAL+ TM กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.
สุริทอง ศรีสะอาด. (2544). แนวทางการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไปสู่เกณฑ์มาตรฐานห้องสมุด
สถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2544. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อนันศักดิ์ พวงอก. (2556). การพัฒนากลยุทธ์การสร้างคุณค่าของห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ.
(วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
. (2559). การศึกษาพฤติกรรมสารสนเทศของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ:
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
Cullen. (2001). Perspectives on user satisfaction surveys. Library Trends, 49(4), 662-686.
Murillo, D. M. (2004). The value of service in the library and information science
curriculum. Unpublished master’s thesis, University of Texas at Austin.