ความมั่นคงเชิงบูรณาการของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

วิชชุดา วงศ์พานิชย์

บทคัดย่อ

ยางพารา เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยถือว่าเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกอันดับหนึ่งของโลก จากสถานการณ์ที่ผ่านมาจนถึง ณ ปัจจุบัน ถือว่าไทยยังคงเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจของยางพารา และอุตสาหกรรมยางพารา เป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญของไทย แต่ปัญหาที่สำคัญของเศรษฐกิจยางพารา คือ “ปัญหาราคายางตกต่ำ” ที่เป็นปัญหาสำคัญและมีผลกระทบต่อความมั่นคงของเกษตรกรผู้ปลูกยางเป็นอย่างมาก จึงเห็นความสำคัญของปัญหาความมั่นคงในอาชีพของเกษตรกรผู้ปลูกยาง ซึ่งมีแนวโน้มเป็นปัญหาสำคัญของการพัฒนาการสร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้ให้แก่เกษตรกร


ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แยกตามวัตถุประสงค์ โดยผู้วิจัยได้กำหนดไว้ 2 กลุ่ม ด้วยกันคือ กลุ่มประชากรสมาชิกของกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 10,870 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 370 คน และพนักงานสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 5 คน และพี่เลี้ยง จำนวน 5 คน รวมทั้งหมด 10 คน เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนา


ผลการวิจัย พบว่า การบูรณาการการจัดการภาคเกษตรกรที่มีผลต่อการเรียนรู้การคงอยู่ที่ยั่งยืนของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ  ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการในเรื่องของผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ และตรงตามความต้องการของตลาด ด้านการพัฒนาเกษตรกรและสถาบันมีความคิดเห็นว่ากลุ่มหรือสถาบันเกษตรกรที่มีการดำเนินการต่อเนื่องและมีฐานข้อมูลกลุ่ม/สถาบันเกษตรกรที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน ด้านการพัฒนาระบบตลาดยางพารา มีความคิดเห็นว่ามาตรฐานคุณภาพยางต้องเป็นไปตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร และด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กร  มีความคิดเห็นว่าการให้บริการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้บริการด้วยความสะดวก รวดเร็ว ตามเวลาซึ่งมีผลการวิเคราะห์มีค่ามากที่สุด


การจัดการเชิงเรียนรู้ที่มีผลต่อการปรับตัวตามฐานกลไกการตลาดของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ  พบว่า สภาพการบริหารจัดการตามภารกิจด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมมากที่สุด รองลงมา คือ สภาพการบริหารจัดการด้านการสร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร  สภาพการบริหารจัดการด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์การ และน้อยที่สุด คือ สภาพการบริหารจัดการด้านการพัฒนาระบบตลาดยางพารา เป็นรูปแบบที่ควรปรับปรุงมากที่สุด  ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้การคงอยู่ที่ยั่งยืน พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราเกิดกระบวนการเรียนรู้ในการประกอบอาชีพ ในการปฏิรูปเกษตรกรชาวสวนยางเน้นพึ่งพาตนเอง อยู่แบบพอเพียง และต้องลดการขอความช่วยเหลือจากรัฐ การปฏิรูปสวนยางให้เปลี่ยนการทำสวนยางแบบเชิงเดี่ยวเป็นการทำสวนยางแบบยั่งยืน โดยชาวสวนยางรายย่อยไม่จำเป็นต้องปลูกยางอย่างเพียงอย่างเดียว


แนวทางการเสริมสร้างความมั่นคงเชิงบูรณาการที่มีต่อเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า หน่วยงานภาครัฐควรการส่งเสริมมาตรการด้านการผลิต ให้คำแนะนำชาวสวนยางรายย่อยปรับเปลี่ยนสวนยางพาราที่พึ่งพาพืชเศรษฐกิจชนิดเดียวไปสู่ระบบเกษตรกรรมที่หลากหลายทางชีวภาพและพันธุกรรมพืชในรูปแบบที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน  สนับสนุนให้ชาวสวนยางรวมกลุ่มสร้างเครือข่ายระหว่างกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่และให้ความรู้ ส่งเสริมการอบรมเรื่องอาชีพเสริมเพื่อหารายได้ การแนะนำปลูกพืชแซมที่ทดแทน กำหนดมาตรการรักษาเสถียรภาพราคายางเพื่อรองรับความผันผวนของราคายาง ขอความร่วมมือเกษตรกรชาวสวนยางลดหรือชะลอเวลากรีดยาง  และ หน่วยงานภาครัฐนำยางพาราไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศเพิ่มมากขึ้น ลดการพึ่งพิงการส่งออกในรูปแบบวัตถุดิบ มาเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ ที่เกิดประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่มมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กลุ่มประสานงานสหกรณ์อาเซียน กองแผนงาน AEC 2015. 2558. ทิศทางยางพาราของไทยสู่อาเซียน AEC. กรุงเทพมหานคร.
บุญชม ศรีสะอาด. 2543. การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
ภักดี บุญเจริญและคณะ. 2552. คุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยาง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง.
กฤษณี พิสิฐศุภกุล. 2257. เบื้องหลังตลาดและการกำหนดราคายางพาราไทย. สงขลา: ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้.
ศิริชัย พงษ์ศิริ. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทไดมอน อิน นิสสิเน็ตเวิลล์ จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.