การพัฒนารูปแบบสถานศึกษาพอเพียง

Main Article Content

อภิสรรค์ ภาชนะวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบสถานศึกษาพอเพียง และเพื่อประเมินรูปแบบสถานศึกษาพอเพียง มี  3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การสร้างรูปแบบสถานศึกษาพอเพียง 2 ) การพัฒนารูปแบบสถานศึกษาพอเพียง 3) ประเมินรูปแบบสถานศึกษาพอเพียง โดยสอบถาม ผู้บริหารสถานศึกษา ครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ของสถานศึกษาพอเพียง ปีการศึกษา 2562 จำนวน ทั้งสิ้น 291 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.906  สถิติที่ใช้คือค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)                                                                                                   


             ผลการวิจัยพบว่า


             1.รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียง เป็นรูปแบบการบริหาร ด้วยกระบวนการ เชิงระบบประกอบด้วย ด้าน 1) ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ การยอมรับการบริหารสถานศึกษา และการเปลี่ยนแปลงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การบูรณาการหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ บรรยากาศการมีส่วนร่วม สภาพสังคม วัฒนธรรม และนโยบายต้นสังกัด 2) กระบวนการ ได้แก่ งานบุคลากร งานวิชาการ งานงบประมาณ และงานบริหารทั่วไป 3) ด้านผลผลิต หรือตัวชี้วัดความสำเร็จ ได้แก่ ผลลัพธ์/ภาพ ความสำเร็จของ สถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และ  ผู้เรียน และ มีการ สะท้อนผลการพัฒนา ในทุกกระบวนการ


  1. การประเมินรูปแบบสถานศึกษาพอเพียงมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่งผลต่อการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงใน 5 ด้าน ในระดับมากที่สุด ได้แก่ การยอมรับการบริหารสถานศึกษาและการเปลี่ยนแปลงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65 (= 4.65 ) การบูรณาการหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 (= 4.52 ) มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก ได้แก่ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ4.39(= 4.39 ) ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ4.15(=4.15) และด้านผลลัพธ์ภาพความสำเร็จมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22(= 4.22 )

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

Boonkua, S., & Chinprahat, N. (2014). Picture of the success of educational management based on the sufficiency economy philosophy. Sufficiency Education Center Foundation sathirakun. Bangkok.[in Thai]
Boonnonthae, A., &Chutichudet, B,. (2016). The method progression development to model sufficiency institution belong to high school education Office Area Zone 30 Journal of Education Mahasarakham University. 10 [Extra]. 1014-1028. [in Thai]
Cooper, H. (2007). Evaluating and interpreting research syntheses in adult learning and literacy. Cambridge MA: National Center for the Study of Adult learning and Literacy.
Hongthong, W., Wora-in, Ch., &Konpong, A. (2019).The research and development of effective sufficiency school administration model. Journal of Humanities and Social Science of Graduate School Pibulsongkram Rajabhat University. 13(1), 105–106. [in Thai]
Israngkun Na Ayuthaya, C. (2010). King Bhumibol and the balance in development. Bangkok: The Crown Property Bureau. [in Thai]
Ministry of Education. (2011). Document of school assessment role models learning activities and administration managed according to the philosophy of the sufficiency economy (Sufficiency education institution). [in Thai]
Office of the Education Council. Education reform proposal in the second decade (2009 - 2019). (2 nded). Bangkok: Phrinkwangraphic. [in Thai]
Office of the Royal Development Projects Board. Publication. (2005). Royal Development Study Center. Bangkok. Office of the National Economic and Social Development Council. [in Thai]
Saraburi Provincial Education Office.(2011). Strategy towards the philosophy of the sufficiency economy to learning in school (2015 - 2019). Saraburi: Policy and Planning Group. [in Thai]
Srisa-ard, B. (2011). Basic research (9thed). Bangkok: Suviriyasan. [in Thai]
Thampiya, P. (2014). Propulsion sufficiency Economy philosophy in education
(2006 - 2014).Bangkok: Sufficiency Education CenterFoundationYuwasathirakun. [in Thai]
Thampiya, P. (2015). Propulsion sufficiency economy philosophy in education (2006 - 2015). Bangkok: Sufficiency Education Center Foundation Yuwasathirakun.Foundation sathirakun. The approach for propelling sufficiency education institutions to sustainability.[Online 2014]. [in Thai]
The twenty-one National Economic and Social Development Plan (2017 - 2021). Bangkok. (2016). Office of the Education Council.Education reform proposal in second decade (2009 - 2018).(2nded). Bangkok: Phrinkwangraphic. [in Thai]