การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์วัฒนธรรมกูยบ้านกู่ ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์วัฒนธรรมชุมชาวกูย บ้านกู่ ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของชุมชนชาวกูย บ้านกู่ ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 204 ครัวเรือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัย เชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เขิงลึกแบบมีโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informant) จำนวน 14 คน นำข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกมาสังเคราะห์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท (Content Analysis Technique) และนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาความ (Descriptive)
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพปัจจุบันของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์วัฒนธรรมชุมชนชาวกูย บ้านกู่ พบว่า ผลรวมของระดับการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก (xˉ =4.15, SD.=.83) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า (1) การมีส่วนร่วมด้านการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก (xˉ =3.99, SD.=.87) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า การมีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือและพิจารณาโครงการต่างๆ ที่อาจเกิดปัญหาต่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมกูยมีระดับมากที่สุด (xˉ =4.02, SD.=.88) เนื่องจากชาวกูยบ้านกู่ให้ความตระนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมดั้งเดิม ทำให้เกิดความสำนึกรักและหวงแหนสิ่งที่ตนมีอยู่และเกรงว่าวัฒนธรรมอันดีงามนั้นจะสูญหายไปจึงเกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมกูยของชุมชนขึ้นอย่างต่อเนื่อง (2) การมีส่วนร่วมในด้านการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก (xˉ=4.19, SD.=.83) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกับเยาวชนในการอนุรักษ์วัฒนธรรมกูยมีระดับมากที่สุด (xˉ = 4.38, SD.=.79) เนื่องจากปัจจุบันชาวกูยบ้านกู่ต้องการให้การอนุรักษ์วัฒนธรรมมีความยั่งยืนจึงได้ให้ความสำคัญกับเด็กและเยาวชนให้เข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมกูยมากขึ้นในด้านการจัดให้เป็นมัคคุเทศก์น้อย การส่งเสริมให้มีการแต่งกายในโรงเรียนด้วยผ้าพื้นบ้านของชนชาติพันธุ์กูย ซึ่งเป็นสร้างการซึมซับทางวัฒนธรรม และความภาคภูมิใจในการสำนึกรักหวงแหนมรดกทางวัฒนธรรมของบรรพบุรุษได้เป็นอย่างดี และไม่ให้เกิดการสูญหายไปจากชุมชน (3) การมีส่วนร่วมในด้านการรับผลประโยชน์อยู่ในระดับมาก (xˉ = 4.36, SD.=.75) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า การมีส่วนร่วมในมีความยินดีและภาคภูมิใจเมื่อโครงการต่างๆ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด (xˉ = 4.46, SD.=.64) เนื่องจากการได้รับผลประโยชน์ร่วมกันไม่ว่าจะเป็นผลประโยชน์ที่ออกมารูปแบบใดก็ตาม ต่างก็สร้างความเป็นส่วนหนึ่งให้กับประชาชนที่มีบทบาทในการเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมนั้นๆ ทำให้กิจกรรมต่างๆ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน ประชาชนต่างได้รับประโยชน์ในการดำเนินกิจกรรม และเกิดการพัฒนาเป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจวบจนปัจจุบัน และ (4) การมีส่วนร่วมด้านการประเมินผลอยู่ในระดับมาก (xˉ = 4.05, SD.=.89) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า การมีส่วนร่วมในการขอความร่วมมือให้องค์กรอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด (xˉ = 4.14, SD.= .91) เนื่องจากชุมชนได้พัฒนาให้เป็นชุมชนท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษในการส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยว ทำให้หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาสนับสนุนส่งเสริมการทำกิจกรรมต่างจากองค์กรภายนอก โดยให้ความสำคัญของกิจกรรมที่ชุมชนได้รวบรวมและสร้างขึ้น ทำให้กิจกรรมเหล่านั้นได้รับการส่งเสริม และก่อให้เกิดความต่อเนื่องในการพัฒนาด้านต่างๆ ไปด้วย
- แนวทางการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของชุมชนชาวกูย บ้านกู่ ประกอบด้วย 8 แนวทาง (1) กระบวนการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูวัฒนธรรมกูย เกิดจากความร่วมมือ ร่วมใจของคนในชุมชนชาวกูยที่ตระหนักถึงปัญหาและมีแนวคิดในการแก้ไขปัญหาในทิศทางเดียวกัน (2) การส่งเสริมการอนุรักษ์ ปัจจุบันชุมชนชาวกูยบ้านกู่ดำเนินการส่งเสริมการอนุรักษ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับนโยบายจังหวัด โดยเริ่มจากการพัฒนาจากการสร้างพลังของคนในชุมชนกลุ่มเล็กๆ ก่อน และพัฒนาต่อยอดให้เกิดการท่องเที่ยวชุมชน โดยนำต้นทุนชุมชนมานำเสนอเป็นฐานการท่องเที่ยว (3) กระบวนการมีส่วนร่วมในหน้าที่รับผิดชอบ เกิดจากการรวมกลุ่มเล็กๆ และดำเนินการแบ่งหน้าที่ตามความสามารถและความถนัด โดยแกนนำหลักในการขับเคลื่อนเป็นผู้นำชุมชนมีหน้าที่ในการมอบหมายประสานงานให้สมาชิกชุมชนเข้ามาร่วม โดยมีเป้าหมายหลัก คือ การจัดการอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวกูยให้เกิดการพัฒนาและรักษารากเหง้าชาติพันธุ์ของตนเองให้ลูกหลานคนรุ่นหลังได้เห็นเป็นปณิธานของการทำงาน (4) กระบวนการมีส่วนร่วมในการวางแผนการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่มุ่งสู่อนาคต โดยชุมชนมีแนวทางในการวางแผนการดำเนินกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ คือ การให้ความสำคัญจากจุดเล็กๆ และเริ่มขยายเครือข่ายออกไป ให้สมาชิกที่เข้าร่วมเข้ามาด้วยความสมัครใจเพื่อให้เกิดการดำเนินงานที่ยั่งยืน (5) กระบวนการประชาคม (6) การมองผลประโยชน์จากการอนุรักษ์วัฒนธรรมร่วมกัน ผลประโยชน์ร่วมกันของคนในชุมชน คือ ผลประโยชน์ที่เป็นความสุขทางจิตใจ และผลประโยชน์ที่จับต้องได้ อาทิ เศรษฐกิจชุมชนที่เป็นรายได้ของสมาชิกชุมชน (7) การเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแสสังคม ชุมชนมีแนวคิดในการเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวจะทำให้สามารถเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแสสังคมได้เท่าทัน และ (8) การอนุรักษ์ที่ยั่งยืน แนวทางที่ดำเนินการในปัจจุบันของชุมชนชาวกูย เพื่อให้เกิดความยั่งยืนด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชุมชนชาวกูยบ้านกู่ มุ่งไปที่คนเป็นหลัก โดยมีการนำเยาวชนและคนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานมากขึ้น มุ่งเน้นนำเด็กและเยาวชนในชุมชนให้มาเรียนรู้วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ชุมชนซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้จะเป็นการสืบสานการอนุรักษ์วัฒนธรรมกูยได้มั่นคงและยั่งยืน
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
Boonyopaddam, H and Mapraneed, B. (2013). Thaipuan Culture Conservation Participation of Administration Commission of Chalermrat Cultural Center (Fangklong Temple) Nakonnayok Province. College: Srinakharinwirot Univerity. [In Thai].
Chompupan, R. (2010). The Culture and Heritage Landscape Management : A Case Study of Lampang Municipality. Thesis: Master Degree. Collage : Silpakorn University. Bangkok: Silpakorn University. [In Thai].
Chusongdet, R. (2009). Sustainable Cultural Heritage Searching and Management in Pai-Pangmapa-Khunyuam Districts Maehongson Province. Online. Retrieved March 23rd, 2020 from http://www.abc- un.org/research/ view.php?resID=RDG50O0006. [In Thai].
Cohen & Uphoff. (1980). Effective Behavior in Organizations. New York: Richard D.
Irwin Inc.
Denmuanwong, W. (2000). Community : The Dynamic of Residents’ Participation for Self Community Development. Bangkok: Ramkamhaeng University.
[In Thai].
Noradee, T and et al. (2013). The Complete Research Report of Culture and Tradition Restoration for Appropriate Tourism Management of Gooi Community in Gu Village Gu Sub-District Prangku District Sisaket Province. Research Report: Bangkok: The Thailand Research Fund. [In Thai].
Pateeparakmanee, P. (2003). Residents’ Participation in Bangkhuntien Coast Community Development Bangkok. Thesis : Master of Liberal Arts. College : Applied Sociology Major Department of Sociology and Anthropology Graduate School Kasetsart University. Bangkok: Kasetsart University. [In Thai].
Pongpinyo, W. (2005). Local Wisdom for Community Strengthening : A Case Study of
Ampawan Village M.8 Samran Sub-Disrict Muang District Khonkaen Province. Research Report: College: Loei Rajabhat University. [In Thai].
Ponsin, P. (2012). Community Participation in Cultural Arts Management: A Case Study of Sommanat Community in Research and Development journal of Thammasat University. V.4, (2012). [In Thai].
Thanawut, O. (2012). Roles of Village Headmen in Learning Process of Community Woods Management in Huatoong Village Chiangdao District Chiangmai Province. Thesis: Master Degree (Public Administration). Chiangmai: chaingmai University. [In Thai].
Thongsuk, N. (2015). Peoples Participation in the Development of the Sufficiency Economy Village in Sikao District, Trang Province in Western University journal Humanities and Social Sciences. V.1, (No.3), September – November 2015.
Yuto, S. (2008). Residents’ Participation for Community Development of Bangkolaem Sub- District Bangkok. Thesis: Master Degree (Public Administration). Graduate School : Suansunantha Rajabhat University. Bangkok: Suansunantha Rajabhat University. [In Thai].