พิพิธภัณฑ์การเดินทัพทางไกลของกองทัพแดงแห่งตี๋ชิ่ง : วาทกรรมการเมือง เรื่องกองทัพแดงกับกลุ่มชาติพันธุ์ทิเบต

Main Article Content

ชิดหทัย ปุยะติ

บทคัดย่อ

พิพิธภัณฑ์การเดินทัพทางไกลของกองทัพแดงแห่งตี๋ชิ่ง จัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองและรำลึกถึงการเดินทัพทางไกลของกองทัพแดงแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนระหว่างปี ค.ศ. 1934-1936 โดยมุ่งแสดงเรื่องราวของกองทัพแดงและกลุ่มชาติพันธุ์ทิเบตในตี๋ชิ่ง ขณะเดินทัพผ่านตี๋ชิ่งในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 1936 เมื่อพิจารณาในมุมมองทางวาทกรรมจะพบว่า พิพิธภัณฑ์ในฐานะพื้นที่แห่งการเรียนรู้ได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบสร้างวาทกรรมทางการเมืองของรัฐบาลจีน โดยมีการประกอบสร้างและนำเสนอกองทัพแดงให้มีภาพลักษณ์เป็นวีรบุรุษผู้เป็นมิตรต่อประชาชน เป็นผู้ปลดแอกกลุ่มชาติพันธุ์ทิเบตให้หลุดพ้นจากความเป็นทาสและความล้าหลัง ตลอดจนนำพาความเจริญมาสู่สังคมทิเบตในตี๋ชิ่ง โดยกระทำผ่านกลวิธีการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ ดังนี้ 1) การฉายภาพอุปสรรคของการเดินทัพ เพื่อสะท้อนถึงวีรกรรมของกองทัพแดงและความโหดร้ายของพรรคก๊กมินตั๋ง 2) การเชิดชูวีรสตรีแห่งกองทัพแดง เพื่อเผยให้เห็นถึงอุดมการณ์ความคิดที่ทันสมัยของพรรคคอมมิวนิสต์จีน 3) การถ่ายทอดเรื่องราวความสมานฉันท์ระหว่างกองทัพและประชาชน เพื่อวางรากฐานในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการปกครองกลุ่มชาติพันธุ์ของรัฐบาลจีน  4) การนำเสนอมิตรภาพระหว่างทหารแดงและลามะทิเบต เพื่อใช้ศรัทธาทางศาสนาสร้างอำนาจทางการเมือง และ 5) การสะท้อนภาพความเจริญรุ่งเรืองของตี๋ชิ่งในยุคเริ่มแรกของการปลกแอก เพื่อตอกย้ำคุณูปการที่วีรบุรุษกองทัพแดงได้สร้างไว้ระหว่างการเดินทัพในตี๋ชิ่ง วาทกรรมดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า อำนาจอาจไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปของการใช้กำลังบังคับเสมอไป แต่อาจถูกปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของความรู้ และความจริง ดังเช่นการประกอบสร้างความรู้และความจริงในรูปแบบ “การเมืองเรื่องพิพิธภัณฑ์”

Article Details

บท
Academic Articles (บทความวิชาการ)

References

Aiemueayut, S. (2015). Display as the Political Space. Journal of Social Sciences, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University, 27(1), 131-147. [In Thai]
Baima, L. , Ciren, D. & Wang, C. (2005). The Central Government Authority Embody in The Implementation of The System of Living Buddha of the Tibetan Buddhism. Tibetan Studies, 1, 1-11. [In Chinese]
Charoensin-o-larn, C. (2011). Development Diccourse : Power Knowledge Truth Identity And Otherness. (5th ed.). Bangkok: Wipasa. [In Thai]
Committee of Thai History Retrieval in Chinese Literature. (2000). Principles of Sound
Transcription from Chinese Mandarin into Thai. Bangkok : Thammasat University Press.
Chotiudompant, S. (2017). Western Theories of Literary Criticism in 20th Century . (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. [In Thai]
Guo, X. (2016). Following the Footsteps of Red Army’s Long March—Step into Diqing Museum of Red Army’s Long march. Corpus of Party History, 9, 28-34. [In Chinese]
Han, H. (2020). A Review of Long March Commemorative Activities since the Establish of thePeople ’s Republic of China. Theory and Reform, 2, 173-188. [In Chinese]
He, D. (2013). Red Army’s Ethnic and Religion Policies in Tibetan Ethnic minority areas in Yunnan inspiring on Establishment of Charming Tibetan Ethnic minority areas in Yunnan. “Building a Dream - Establishing Charming Yunnan”, Proceeding of The 7thAcademic Conference on Social Science of Yunnan Province, 225-231. [In Chinese]
He, D. (2017). Work on Ethnic Issue in The Early Post-Liberation in Diqing, Yunnan
Province. Journal of National Museum of China, 11,92-103. [In Chinese]
He, G. & He, M. (2017). The Profound Friendship between General Zhu De and Living Buddha Ge Da. Shiji Fengcai, 4, 3-8. [In Chinese]
Krongbun, S. (2019). The Role of His Holiness Dalai Lama for Peace in Tibet. Humanities and Social Sciences Journal, Ubon Ratchathani Rajabhat University, 7(2) , 363-381. [In Thai]
Li, L. (2018). Communist party of China’s Theories and Policies of Ethnic Minority areas’ Developments since Chinese Economic Reform. Journal of Shanxi Institute of Socialism, 3 , 12-17. [In Chinese]
Liu, Y. (2020). War of Baishi: The first Battle of central Red Army’s Long March. Dangyuan Wenzhai, 1 , 35-36. [In Chinese]
Rattanamankasem, A. (2005). Sexuality issues in 4,000 years of Chinese Culture . Bangkok: Sukapap Jai. [In Thai]
Rinchen Dolma Tarring. (2003). Daughter of Tibet. (2nd ed.). Translated by Seemon. Bangkok: Wiriya. [In Thai]
Tang, N. (2019). “Phenomenology of Museum: A theoretical suggestion for the ontology of museum exhibitions” Journal of Sociology and Anthropology, 38(1) , 31-49. [In Thai]
Tan, G., Li, M., Ma, B. Guo, H. & Meng, X. (1988). Overview on Ethnic Minorities’ Religions in China. Beijing: Central Nationality College Press. [In Chinese]