การพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับกลยุทธ์ช่วยจำแบบนีโมนิค (Mnemonic) เรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือด ในรายวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

กชกร บัวพัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับกลยุทธ์ช่วยจำแบบนีโมนิค ให้อยู่ในระดับแนวคิดวิทยาศาสตร์สมบูรณ์ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/10 จำนวน 25 คน โรงเรียนสารคามพิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โดยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการวิจัย 3 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับกลยุทธ์ช่วยจำแบบนีโมนิค จำนวน 9 แผน 2) แบบวัดแนวคิดวิทยาศาสตร์แบบอัตนัย จำนวน 18 ข้อ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมแบบตรวจสอบรายการ และ 4) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง       


          ผลการวิจัยพบว่า วงจรปฏิบัติการที่ 1 นักเรียนมีระดับแนวคิดวิทยาศาสตร์สมบูรณ์ จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 20 วงจรปฏิบัติการที่ 2 นักเรียนมีระดับแนวคิดวิทยาศาสตร์สมบูรณ์ จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 52 วงจรปฏิบัติการที่ 3 นักเรียนมีระดับแนวคิดวิทยาศาสตร์สมบูรณ์ จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 64

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

Abimbola, I.O. (1988). The Problem of Terminology in the Study of Student Conceptions. Science Education. Vol.72 (pp.175–184).
Bakken, J. P., & Simpson,C. G. (2011). Mnemonic Strategies: Success for the Young-Adult Learner. The Journal of Human Resource and Adult Learning. Vol.7 (pp.79-85).
De Jong, O. (2008). Context-based chemical education: How to improve it?. Chemical Education International. Vol.8 (pp.1-7).
Gilbert, J. K. (2006). On the Nature of “Context” in Chemical Education. International Journal of Science Education. Vol.28 (pp.957-976).
Pramchoo, J., Sreethunyoo A., & Meesuk L. (2010). Development of Grade-11 Students
Understanding about Rate of Reaction and Attitude Toward Learning Chemistry
by Using Context-Based Learning Activities. KKU research journal. Vol.15
(pp.317-330). Khon Kaen: Khon Kaen university. [In Thai]
Pungsamrong, R., Chauvatcharin N., & Panprueksa K. (2018). Effects Of Inquiry Learning
Cycle(5es)Together With mnemonic “Camr”For Enhancing Learning
Achievement And Attitude Towards Biology Of 10th Grade Students.
Veridian E-Journal. Vol.3 (pp.2473-2494). Bangkok:
Silpakorn University. [In Thai]
Rozental, A., & Carlbring, P. (2014). Understanding and treating procrastination: A review
of a common self-regulatory failure. Psychology. Vol.5 (pp.1488–1502).
Saelim, W., Tanak, A., & Pradermwong K. (2015). The Development of Grade 10 Students’
Conception in The Chemical Basis of Life Unit Using Context-Based Learning.
Kasetsart Educational Review. Vol.30 (pp. 63-75). Bangkok:
kasetsart university. [In Thai]
Sternberg, R. J., & Sternberg, K. (2012). Cognitive psychology. (6 th ed). California: Wadsworth.
Suksanchananun, C. (2012). Alternative : The development of junior high school
students'' conception and conceptual transferability of heat by
contextual learning. (Master of education). Bangkok:
kasetsart university. [In Thai]
Westbrook, S. L., & Marek , E. A. (1992). A cross-age study of student understanding of the concept of homeostasis. Journal of Research in Science Teaching. Vol.29 (pp.51-61).