การศึกษาอิทธิพลของการจัดการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีต่อประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจชุมชน ในจังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้ว

Main Article Content

สนิทเดช จินตนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อศึกษาอิทธิพลของการจัดการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้ว และเพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการจัดการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจแก่วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้ว การเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้คือ สมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ของจังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว จำนวน 345 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย   ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ในการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง  


            ผลการศึกษาพบว่า 1. สมาชิกวิสาหกิจชุมชนที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการจัดการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยรวมนั้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 4  ปัจจัย โดยสามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ด้านการมีคุณธรรม รองลงมาคือ ด้านความมีเหตุผล ด้านความพอประมาณ และด้านการมีภูมิคุ้มกัน ตามลำดับ และอยู่ในระดับอีก 1 ปัจจัย คือ ด้านการมีความรู้ 2. การจัดการความมั่นคงของวิสาหกิจชุมชนตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4 ตัวแปร มีอิทธิพลทางบวกกับประสิทธิภาพของการจัดการความมั่นคงของวิสาหกิจชุมชนในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  สามารถร่วมกันพยากรณ์ตัวแปรตามได้ร้อยละ 77.5 โดยสามารถอธิบายอิทธิพลของตัวแปรได้ตามลำดับความสำคัญดังนี้ ด้านการมีความรู้ รองลงมาคือ ด้านการมีภูมิคุ้มกัน ด้านการมีคุณธรรม  และด้านความมีเหตุผล ตามลำดับ และ 3. ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาการจัดการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นั้นควรเน้นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับวิสาหกิจชุมชนทั้งในเรื่องการสะสมเงินออม การพัฒนาความรู้ทั้งของสมาชิกและตัวประธานในเรื่องการบริหารจัดการและการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ รัฐควรสนับสนุนส่งเสริมให้วิสาหกิจชุมชนที่มีความเข้มแข็งสามารถขยายศักยภาพให้สูงขึ้นโดยการนำนวัตกรรมเข้ามาช่วยในการพัฒนาการบริหารจัดการและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงการทำการตลาด และรัฐต้องพัฒนาความรู้ในเรื่องการวางแผนโดยเฉพาะการวางแผนธุรกิจให้กับวิสาหกิจชุมชนให้มากขึ้น เพื่อรอบรับผลกระทบจากความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

Community organizations development institute. (2016). Guidebook for Economic developmental foundation. Bangkok : Ministry of Social Development and Human Security. [in Thai]
Department of Agriculture Extension, Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2019). Summary of the amount of community enterprises and community enterprise networks that approved registration in january 2019. [online]. Retrieved from : https://www.m-society.go.th/article_attach/18750/ 20435.pdf. [in Thai]
Klantoop, N.. (2013). Comnunityenterprise management by sufficient economic theory in Nakhonsawan. Journal of Graduate School, Pibulsongkram Rajabhat University, Vol. 7, No.2, p.p. 28-39. [in Thai]
Office of the National Economic and Social Development Council. (2016). 12th National Economic and Social Development Plan (B.E. 2560 – 2564) . Bangkok : Office of the National Economic and Social Development Council. [in Thai]
Suttisong, S.. (2014). Relationship Between Small and Micro Community Enterprise Management and Sufficiency Economy Principles on Thai Silk Producer Group, in the Northeastern of Thailand. Social Sciences Research and Academic Journal, Vol. 9, No. 25, p.p. 95-106. [in Thai]
Tantaviwong, A.. (2006). Main life with sufficiency economy. [online]. Retrieved from : https://www.sem100library.in.th/medias/3247.pdf [in Thai]
Uengpaiboonkit, A.. (2015). The Applicability of the royal sufficiency economy principle to community enterprises management in Surin. RMUTP research journal speciel issue, p.p. 12-19. [in Thai]
Yamane, T.. (1973). Statistics an Introductory Analysis. New York: Harper and R.
Yodprudtikan, P.. (2011). Sufficiency Economy Initiative. (5th edition). Bangkok : Total Access Communication. [in Thai]