การออกแบบเรขภาพข่าวสำหรับการสื่อสารสาธารณสุขในช่วงวิกฤตโควิด-19 ของสำนักงานประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สิโรดม มณีแฮด

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์องค์ประกอบทัศนธาตุที่ปรากฏในเรขภาพข่าวของสำนักงานประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร 2) สังเคราะห์วาระการสื่อสารสาธารณสุขโดยใช้เรขภาพข่าวในช่วงวิกฤตโควิด-19 และ 3) ศึกษาการออกแบบเรขภาพข่าวของสำนักงานประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร โดยเป็นการวิจัยเชิงผสมผสานที่ใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบทในเรขภาพข่าว จำนวนทั้งสิ้น 26 เรื่อง


            ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบทัศนธาตุที่ปรากฏในเรขภาพข่าวของสำนักงานประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยทัศนธาตุ 3 ด้าน คือ 1) ทัศนธาตุด้านข้อมูล ได้แก่ ข้อความ ตัวอักษรและตัวเลข 2) ทัศนธาตุด้านภาพ ได้แก่ ภาพถ่าย การ์ตูน แผนภูมิภาพ สัญรูปและเรขาคณิต และ 3) ทัศนธาตุด้านโทนสี ได้แก่ สีโทนร้อนและสีโทนเย็น  สำหรับวาระการสื่อสารทางสาธารณสุขโดยใช้เรขภาพข่าวในช่วงวิกฤตโควิด-19 พบว่า ประกอบด้วย 5 วาระ ได้แก่ 1) วาระการสื่อสารเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารทั่วไป 2) วาระการสื่อสารเพื่อส่งเสริมให้รับรู้ปัจจัยเสี่ยง 3) วาระการสื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักทางสังคม 4) วาระการสื่อสารเพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน 5) วาระการสื่อสารเพื่อเปิดรับข้อมูลความคิดเห็นย้อนกลับ  นอกจากนี้พบว่า การออกแบบเรขภาพข่าวของสำนักงานประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์ 2) กลุ่มเป้าหมาย 3) เนื้อหาที่สื่อสาร และ 4) ช่องทางการนำเสนอ

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

Areeya, K. (2009). Concept of Health Communication. In Pacharee Thanasomboonkit (Ed.). Communicating with Heart to a Healthy. (pp. 63-70). Nonthaburi: Ministry of Public Health. [in Thai]
Balint, K. E., & Bilandzic, H. (2017). Health Communication Through Media Narratives: Factors, Processes, and Effects. International Journal of Communication, 11(1), 4858–4864.
BMA City Planning Department. (2019). 225 Years of Rattanakosin, the History of Ayutthaya, the Capital of the Kingdom of Thailand. Bangkok: City Planning Department. [in Thai]
Kaewthep, K. (1999). Media Analysis: Concepts and Techniques (2nd ed.). Bangkok: Edison Press Products. [in Thai]
Manmana, S., Iamsirithaworn, S., & Uttayamakul, S. (2020). Coronavirus Disease-19. Journal of Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute, 4(2), 1-10. [in Thai]
Pilasant, S., Yamabhai, I., Kumluang, S., Kumdee, C., Bussabawalai, T., Werayingyong, P., et al. (2016). Addressing the Research Gap for Improving the Thai Health Systems: Choosing Health Research Topics for the Future. Journal of Health Systems Research, 10(3), 215-229. [in Thai]
Photisuwan, T. (2019). System, Function and Role of Media. In Kanpoom Boonthavi (Ed.). Introduction to Mass Media. (pp. 53-104). Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. [in Thai]
Prasongngoen, U. (2013). Graphic Design Factors that Affect Attraction and Comprehension of Information: A Case of Conference Poster Conveying Academic Content. RMUTP Research Journal Science & Technology, 7(1), 79-89. [in Thai]
Smiciklas, M. (2012). The Power of Infographics: Using Pictures to Communicate and Connect with Your Audience. Indiana: Que Publishing.
Vanichvasin, P. (2015). Potentials of Using Infographics in Enhancing the Quality of Learning. Panyapiwat Journal, 7(1), 227-240. [in Thai]
Yuanjai, A., Klinkhajon, U., Woramalee, S., & Watcharakasemsuntron, J. (2020). A Case of Coronavirus Disease 2019: Case Report. Siriraj Medical Bulletin Journal, 13(2), 155-163. [in Thai]