การต่อยอดภูมิปัญญาพื้นบ้านลุ่มน้ำห้วยสำราญ เพื่อพัฒนาอาหารสำหรับการท่องเที่ยว รอบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

Main Article Content

ปาริฉัตร พงษ์คละ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การต่อยอดภูมิปัญญาพื้นบ้านลุ่มน้ำห้วยสำราญเพื่อพัฒนาอาหารสำหรับการท่องเที่ยว รอบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาอาหารพื้นบ้านในเขตลุ่มน้ำห้วยสำราญ รอบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 2) ศึกษาความต้องการมีส่วนร่วมของชุมชนเกี่ยวกับการต่อยอดภูมิปัญญาอาหารพื้นบ้านในเขตลุ่มน้ำห้วยสำราญ รอบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และ 3) ศึกษาแนวทางการนำภูมิปัญญาอาหารพื้นบ้านมาประยุกต์ใช้สำหรับการท่องเที่ยวเชิงอาหาร รอบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการภายใต้กรอบแนวคิดของการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลจากตัวแทนชุมชนเขตลุ่มน้ำห้วยสำราญ 3 ชุมชน ๆ ละ 10 คน ได้แก่ ชุมชนบ้านโพธิ์ ชุมชนบ้านโนนจาน และชุมชนบ้านอีลอก เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญรวม 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการจัดหมวดหมู่แล้วเชื่อมโยงแนวความคิด และวิเคราะห์เนื้อหา สรุปผลด้วยการพรรณาประกอบแผนภาพ ตลอดจนการจัดประชุมระดมความคิดเห็นกับผู้นำชุมชน ชาวบ้าน และกลุ่มแม่บ้านที่อาศัยใน 3 ชุมชนลุ่มน้ำห้วยสำราญ คือ ชุมชนบ้านโพธิ์ ชุมชนบ้านโนนจาน และชุมชนบ้านอีลอก ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม 7 ขั้นตอน คือ 1) ประเมินความต้องการของชุมชน 2) กำหนดวัตถุประสงค์ 3) กำหนดเนื้อหา 4) เลือกวิธีการเรียนรู้ 5) จัดทำโครงการ 6) ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และ 7) จัดกระบวนการเรียนรู้


ผลการวิจัยค้นพบว่า องค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาอาหารพื้นบ้านลุ่มน้ำห้วยสำราญ รอบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีวัตถุดิบท้องถิ่นจากลุ่มน้ำห้วยสำราญเพื่อใช้ประกอบเป็นอาหาร ในลักษณะ 2 หมวดหมู่ คือ 1) ภูมิปัญญาอาหารที่จับต้องได้ ประกอบด้วย อาหารที่ใช้บริโภคในชีวิตประจำวัน และอาหารเป็นยา ซึ่งวัตถุดิบนั้นล้วนมีคุณค่าทางโภชนาการแก่ร่างกาย และมีสรรพคุณในการช่วยรักษาความสมดุลในร่างกายและช่วยป้องกัน รักษาอาการโรคต่าง ๆ ได้หลายชนิด เช่น ต้านอนุมูลอิสระ ลดคอเลสเตอรอล บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต บำรุงสมอง ลดไข้ ป้องกันมะเร็ง ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด เป็นต้น 2) ภูมิปัญญาอาหารที่จับต้องไม่ได้ ประกอบด้วย อาหารในพิธีกรรมทางศาสนาและงานบุญประเพณี ซึ่งชาวบ้านจะนำอาหาร เช่น ไก่ต้ม ไข่ต้ม ข้าวเหนียว น้ำแดง เหล้าขาว หมาก พลู บุหรี่ กล้วย มาถวายหลวงปู่องค์ดำ (ผีปู่ตา) เพื่อแสดงความเคารพ และขอพรจากผีปู่ตาให้ปกปักษ์รักษาสิ่งมีชีวิต ทั้งคน พืช และสัตว์ต่าง ๆ ที่อาศัยในชุมชนให้อยู่เย็นเป็นสุข รวมถึงนำอาหารไปใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และงานบุญประเพณี เช่น งานบุญข้าวจี่ งานทำบุญเลี้ยงพระในงานบุญพระเวส งานสงกรานต์ งานเข้าพรรษา บุญข้าวประดับดิน บุญข้าวสาก บุญออกพรรษา บุญกฐิน งานออกโรงทาน เป็นต้น ชุมชนต้องการมีส่วนร่วมในการต่อยอดภูมิปัญญาอาหารพื้นบ้านในเขตลุ่มน้ำห้วยสำราญ รอบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ด้วยการมีส่วนร่วมในการออกแบบ 12 เมนูสร้างสรรค์ ได้แก่ 1) เมี่ยงคำสำราญ 2) น้ำย่านางพรางกาย 3) ยำสมุนไพรไข่มดแดง 4) ไส้กรอกกระบอกไผ่ 5) ไก่ทอดริมห้วย 6) หมกหน่อไม้ใกล้ฝั่ง 7) แกงเห็ดเจ็ดสมุน 8) โคตรตำสำราญ 9) ขนมจีนน้ำยาปลาข่อ 10) บัวลอยพลอยศรี 11) ทับทิมคิมหันต์ และ 12) ลอดช่องล่องสำราญ เพื่อจำลองเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอาหาร 4 รูปแบบ คือ 1) การท่องเที่ยวตามสถานที่สำคัญและทดลองชิมอาหารท้องถิ่น 2) การท่องเที่ยวในเทศกาลอาหารภายใต้แนวคิด “ห้วยสำราญวิลเลจ” 3) การเปิดหลักสูตรสอนการประกอบอาหารพื้นบ้านลุ่มน้ำห้วยสำราญ และ 4) การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ รวมถึงสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารเชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้ 3 ชุมชนในเขตลุ่มน้ำห้วยสำราญ เพื่อเป็นแนวทางในการนำภูมิปัญญาอาหารพื้นบ้านมาประยุกต์ใช้สำหรับการท่องเที่ยวเชิงอาหาร รอบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

Hataichanok, C.& Rakphong, W. (2015). Local Food Potential and Ways to Promote Tourism through Local Food in Nan Province. Journal of Thai International Tourism. Vol. 11 No. 1 2015. [In Thai]
Pannatat, K.,& Kanokon, S. (2019). Tourism Management for Food Learning to be an innovation in the development of Local Community participation of Ban Pong Tham, Wang Nuea District, Lampang Province. Lampang: Lampang Rajaphat University. [In Thai]
Pimol, M. (2012). General Knoledge about Local Wisdom. Songkhla: Usebleone Company Limited. [In Thai]
Sombat, A. (2016). Conservation and Inheriting the Tradition of Raising Ancestral Spirits according to the Intimacy and sharing Isan Lifestyle Values. Mahasarakham: Walairukhagwet Medical Research Institute, Mahasarakham. [In Thai]
Wannasa, S.,& Nattha, M. (2017). Local Food for Good Health, Talat Community, Nakorn Ratchasima Province. Journal of Research for Spatial Development. Vol. 9 No. 6 September – December 2017. [In Thai]