ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงหกล้มในผู้สูงอายุชุมชนพัฒนาวัดกิ่ง จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

ดวงหทัย แสงสว่าง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ชนิดการวิจัยเชิงความสัมพันธ์ (Correlational research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมเสี่ยงหกล้มในผู้สูงอายุ ศึกษาปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อด้านสิ่งแวดล้อม และปัจจัยเสริมที่มีผลสามารถทำนายพฤติกรรมเสี่ยงหกล้มในผู้สูงอายุ ชุมชนพัฒนาวัดกิ่ง ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในชุมชนพัฒนาวัดกิ่ง จำนวน 210 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05


            ผลการศึกษาครั้งนี้ ผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 74.76 มีอายุอยู่ในช่วง 60-69 ปี ร้อยละ 66.19 อาศัยอยู่ในครอบครัวที่มีสมาชิก 4-6 คน ร้อยละ 51.43 มีโรคประจำตัว ร้อยละ 79.52 เป็นโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด ร้อยละ 58.10 มีความสามารถในการมองเห็นชัดเจน ร้อยละ 69.52 และมีประวัติการหกล้มในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 37.62 ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการหกล้มอยู่ในระดับปานกลาง ( =0.71, S.D.=0.17) จากผลการวิจัย ปัจจัยนำ ได้แก่ โรคประจำตัว ปัจจัยเอื้อด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การจัดวางสิ่งของไม่เป็นระเบียบ เส้นทางที่ใช้เดินทางไปมามีความลาดชัน ปัจจัยเสริม ได้แก่ เพื่อนช่วยเหลือตอนหกล้ม เพื่อนชวนออกกำลังกาย และบุคลากรทางสาธารณสุขจัดกิจกรรมป้องกันการหกล้ม มีผลสามารถทำนายพฤติกรรมเสี่ยงหกล้มในผู้สูงอายุได้ร้อยละ 24.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย เท่ากับ -0.098, 0.072, 0.072, 0.091, -0.015 และ -0.139 ตามลำดับ


            จากผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการหาแนวทางดูแลผู้สูงอายุเพื่อป้องกันการหกล้ม มีการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้ปลอดภัย ไม่มีสิ่งของกีดขวางทางเดิน เพื่อป้องกันการหกล้ม ควรปรับปรุงสภาพแวดล้อมเส้นทางสัญจรที่มีความลาดชันให้มีความปลอดภัยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุหกล้ม วางแนวทางในการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและให้การช่วยเหลือผู้สูงอายุที่หกล้ม โดยให้บุคลากรทางสาธารณสุข ติดตามเฝ้าระวังการหกล้มในผู้สูงอายุ และจัดทำโครงการหรือกิจกรรมเพื่อป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

Boonpleng W., Sriwongwan W., Sattawatcharawanij P. (2015). Rate and Associated
Factors for Falls among Elderly People: Chaopraya Waterfront Community in Nonthaburi Province. [online]. Retrieved from: http://gg.gg/fa71d. [in Thai]
Department of Older Person. (2018). Statistics of The Elderly in Thailand 77
Provinces as of 31 December 2018. [online]. Retrieved from: http://www.dop.go.th/th/know/1/153
Division of Non Communicable Diseases. (2013). Falls in The Elderly. [online].
Retrieved from: http://www.thaincd.com. [in Thai]
Division of Non Communicable Diseases. (2017). The table shows the number and
the rate of death from falls in people aged 60 years and over per 100,000 population, classified by province, 2011 - 2017. [online]. Retrieved from: http://www.thaincd.com. [in Thai]
Jirojanakul P. (2013). Concepts, Theories on Health Promotion and Their
Application. Bangkok: Praboromarajchanok Institute. Office of the Permanent Secretary.
Kerdsiri, N. (personal communication, September 17, 2019)
Kosit, S. (personal communication, September 17, 2019)
Nittananchai S., Santithirasak M., (2010). Social and environmental support that
affects care the self of the elderly in Samut Prakan Province. Journal of Nursing Division 37(2): 64-76.
Nodthaisong, P. (2018). What does the statistics tell elderly people now and in the
future? [online]. Retrieved from: https:// gg.gg/fa70k. [in Thai]
Powwattana A., (2012). Health promotion and disease prevention in community:
an application of concepts and theories to practice. Khon Kaen: Klang Na Na Witthaya.
Racha T. Health Promoting Hospital. (2019). Policy and operational direction that
Important, fiscal year 2019, demographic data, target groups, public health operations, fiscal year 2019. [Data file]. [in Thai]
Rodseeda P. (2018). Fall Prevention among the Elderly Living in a Community: The
Nursing Role in Home Health Care. Thai Red Cross Nursing Journal. (11)2.
Sorysang L., Khompraya J., Natetanasombut K. (2014). A Study of Fall Prevention Guideline in Older Adult Living in Mitraphappatana Community. Journal of The Royal Thai Army Nurses, (15)1. 122-129.
Tasuwanin T. (2016). Falls in the elderly. [online]. Retrieved from
https://he02.tcithaijo.org/index.php/ubruphjou/article/view/162418.
Thongklung K. (2017). A Study of Physical Factors in ResidentialtoReduce Risk of
Falling Down in Older Residents: CaseStudy of HuaTakhe Community, Bangkok. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2). 6-24.
Tunsakul, T. (2018). 10 risk of deterioration. [online]. Retrieved from:
https://ww2.bangkokhospital.com/. [in Thai]
Voragitkasamsakun S. (2011). Research methodology in behavioral sciences and
social Sciences. Udon Thani: Faculty of Education, Udon Thani Rajabhat University.
Vorapongsathorn S. (2015). PRECEDE-PROCEED MODEL. [online]. Retrieved from:
http://gg.gg/fa6zs. [in Thai]
Wongsawang N. et.al. (2017). Home Environmental Risks for Falls and Indecent of
Falls in Older Adults. Veridian E-Journal, Silpakorn University, (10)3. 2492-2504.