สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบงานสารสนเทศที่มีต่อสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงานและขนาดของโรงเรียน และ 3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบงานสารสนเทศ จำนวน 114 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 จำนวน 42 ข้อ ประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสถิติที (t-test) และการทดสอบค่าสถิติเอฟ (F-test) เมื่อพบความแตกต่างทดสอบรายคู่ด้วยวิธีของ เชฟเฟ (Sheffe’s Method)
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต29 จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของโรงเรียน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 ด้านการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ ปัญหาคือ สถานศึกษาขาดบุคลากรที่มีความรู้ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดทำข้อมูลและสารสนเทศขาดความต่อเนื่องในการดำเนินการ พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ข้อเสนอแนะคือ ผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดสรรบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีการจัดอบรมการจัดทำข้อมูลและสารสนเทศของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของภาครัฐควรจัดหาพื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ให้สถานศึกษา ด้านอินเทอร์เน็ตและการติดต่อสื่อสาร ปัญหาคือ สถานศึกษานำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาใช้ในการบริหารงานของโรงเรียนอย่างไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร สัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่เสถียรและไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ข้อเสนอแนะคือ ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการปฏิบัติงาน ในส่วนของภาครัฐควรจัดหาเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง และ ด้านการจัดการเรียนการสอน ปัญหาคือ สถานศึกษาขาดวัสดุ อุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้เรียน นักเรียนบางคนไม่มีเครื่องมือสื่อสารในการเข้าเรียนผ่านระบบออนไลน์ ข้อเสนอแนะคือ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดหาสื่อ เพื่อให้ครูและบุคลากรในโรงเรียนใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งต้องส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ 2). กรุงเทพฯ : กระทรวงฯ.
กรรณิกา งามลำยอง.(2549). สภาพปัญหาและความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
กรรณิการ์ พิมพ์รส. (2546). สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของครูในโรงเรียนมัธยมที่เข้าร่วมโครงการเครือข่าย คอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย สังกัดกรมสามัญศึกษา 10 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรวิทย์ เลิศศิริ. (2548). การศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ่นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์.
กิตติพงษ์ พุ่มพวง. (2547). ผลของการใช้กลวิธีการกำกับตนเองในบทเรียนบนเว็บวิชาวิทยาศาสตร์ ในระบบบริหารจัดการเรียนรู้ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 สำนักงาน. (2563). ข้อมูลสารสนเทศทางกาศึกษา สพม 29.http:// www.secondary29.go.th/
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงาน. (2560). การจัดระบบบริหารและสารสนเทศภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักงาน. (2563). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา MIS. (ออนไลน์) http://learners. in.th/post/tag/เทคโนโลยีสารสนเทศ2 เพื่อการบริหารการศึกษาMIS.html.
ครรชิต มาลัยวงศ์. (2546). ระบบอินเทอร์เน็ตกับการศึกษา. ไอที ปริทัศน์, 11(5).
จันทร์ฉาย ไชยขันธ์. (2548). สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
จิรวรรณ เล่งพาณิชย์. (2551). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จิรศักดิ์ จันกัน. (2549). พฤติกรรมปัญหาการใช้อินเทอร์เน็ตของนักเรียนและนักศึกษา วิทยาลัยเทคนิคแพร่ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
จำนง ภูมิพันธ์. (2553). ศึกษาสภาพและการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
จำเนียร ดวงศรีแก้ว. (2553). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ฉนวน อุทโท. (2553). การศึกษาสภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์.
ชัยวัฒน์ รัตนรุ่งโรจน์. (2546). สถานภาพการใช้อินเทอร์เน็ตในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญจังหวัด ขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ณาตยา ฉาบนาค. (2546). คอมพิวเตอร์ เล่ม 5 ระบบเครือข่ายและอินเทอร์เน็ต. กรุงเทพฯ: เอส.พี. ซี.บุ๊ค.
ดารุณี วีระชานนท์. (2546). สภาพปัญหาและรูปแบบการจัดระบบสารสนเทศงานวิชาการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม.
ทิพย์วรรณ อรุณศรี. (2545). การใช้อินเทอร์เน็ตของอาจารย์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ ที่เข้าร่วมโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทวีศักดิ์ กออนันตกุล. (2546). นโยบาย ICT ในประเทศไทยและต่างประเทศ. นนทบุรี: สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการราชการพลเรือน.
ธีรพงษ์ วงค์ประเสริฐ. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้อินเทอร์เน็ตของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจในอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2548.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประกอบ คุปรัตน์. (2547). พัฒนาหลักสูตรเพื่อการพัฒนาความเป็นผู้นำและการบริหารการศึกษา.กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.
พิเชฐ ดุรงค์เวโรจน์ และคณะ. (2550). นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการศึกษาของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา แห่งชาติ.
วาสนา สุขกระสานติ. (2550). โลกของคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิทยา สุคตบวร. (2548). ระบบเครือข่ายและเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Becta, C. (2008). Teaching and Learning: What is ICT? (Serial online). Available: http:// www. ictadvice.org.uk
Chauvin, Wynfer Mcfatridge. (1998). Perception of Rural East Texas K-12 Teachers Regarding the Integration of theInternet into the Classroom as a Resource Education Technology, Rural Education. Texas: Texas A & M University.