การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความภาษาไทย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R ประกอบแบบฝึกทักษะของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกล่ามผดุงวิทย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทย ด้วยรูปแแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษา ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการอ่านจับใจความภาษาไทย 3) เปรียบเทียบความสามารถการอ่านจับใจความก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R ประกอบแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกล่ามผดุงวิทย์ จำนวนนักเรียน 9 คน ที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถชนิดเลือกตอบ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทย ด้วยรูปแแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.83/80.56 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) ค่าดัชนีประสิทธิผลในการเรียนรู้การอ่านจับใจความภาษาไทย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R ประกอบแบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เท่ากับ 0.6602 หรือคิดเป็นร้อยละ 66.02 3) ความสามารถการอ่านจับใจความก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการอ่านจับใจความภาษาไทย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R ประกอบแบบฝึกทักษะ คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R ประกอบแบบฝึกทักษะ การอ่านจับใจความ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
นริสรา สุนนทราช. (2554). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นันทนา ใจทาน. (2553). การพัฒนาการเขียนย่อความกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้ชุดฝึกทักษะแบบแผนผังความคิด นักเรียนขั้นประถมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ประสพสุข ฤทธิเดช. (2559). นวัตกรรมการศึกษาการสอนภาษไทย. มหาสารคาม :อภิชาติการพิมพ์.
พิบูลย์ ตัญญบุตร. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับข้อมูลท้องถิ่น
สุพรรณบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มัทธิรา ศิริตานนท์. (2559, กันยายน-ธันวาคม). การศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด. วารสารราชพฤกษ์, 14(3), 95-99.
เมขลา ลือโสภา. (2555). การพัฒนาการอ่านจับใจความด้วยวิธีการสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญารมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
โรงเรียนโคกล่ามผดุงวิทย์. (2562). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2562. กาฬสินธุ์ : โรงเรียนโคกล่ามผดุงวิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1.
สมัย ลาสุวรรณ. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความ โดยใช้เทคนิค SQ4R ประกอบ แบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม.
สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2554). วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของ เยาวชน. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุภาวดี ยนต์ชัย. (2556).การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
แสงระวี ประจวบวัน. (2553). การพัฒนาทักษะการเขียนความเรียง โดยใช้แบบฝึกทักษะที่ใช้วิธีการแผนที่ความคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อมรรัตน์ จิตตะกาล. (2556). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการใช้ผังกราฟิกสาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยทักษิณ.
Robinson, F.D. (1961: 29-30). Effective Study. New York: Harper & Brothers.