รูปแบบการจัดการวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้ปลูกไผ่อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

วิมลสิริ อินเจริญ
ปิยะพงษ์ พัดชา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง รูปแบบการจัดการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกไผ่อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการจัดการ POSDCoRB+IT ที่ส่งผลกระทบต่อรูปแบบการจัดการของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกไผ่อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทราและ 2) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกไผ่อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทราที่เหมาะสม ซึ่งอาศัยรูปแบบการจัดการ POSDCoRB + IT เป็นเครื่องมือ โดยการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยวิจัยเชิงปริมาณร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ


ผลการศึกษาพบว่า วิจัยรูปแบบการจัดการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกไผ่อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา มีรูปแบบโดยมีการวางแผนอย่างมีส่วนร่วม มีโครงสร้างการบริหารองค์กรที่ชัดเจน และการบริหารจัดการคนให้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ มีการกำหนดกฎระเบียบหรือข้อตกลง และให้ความสำคัญกับการจัดสรรผลประโยชน์ที่เท่าเทียมกัน มีการจัดสวัสดิการแก่สมาชิกและชุมชนอย่างเหมาะสม ด้านการเงินควรมีการบริหารจัดการการเงินและบัญชีที่เป็นระบบและตรวจสอบได้ มีการเปิดเผยข้อมูลการเงินอย่างสม่ำเสมอ และมีการตรวจสอบเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินงาน วิสาหกิจชุมชนมีการพัฒนาเครือข่ายร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการพัฒนารูปแบบวิสาหกิจชุมชน คณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ เป็นแกนนำผลักดันให้กลุ่มมีความเข็มแข็ง และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตให้มีความทันสมัย เพื่อยกระดับการจัดการวิสาหกิจชุมชนให้เกิดความยั่งยืนอย่างมีระบบต่อไป

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2560). แนวทางการจัดตั้งและพัฒนากลุ่มอาชีพ. กรุงเทพฯ:สไตล์ครีเอทีฟเฮ้าส์. https://www.cdd.go.th/

โกสินทร์ ชำนาญพล และสุดาใจ โล่ห์วนิชชัย. (2562).การพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ.วารสารราชพฤกษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 17(2), 130-138.

คณิดา ไกรสันติและรัสมนต์ คำศรี. (2559). แนวทางการพัฒนาศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสุขาวดี ตำบลปริกอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7 (น. 554-56). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

จักรวาล สุขไมตรี. (2561). เทคนิคการประสานงานในองค์การ. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 5(2), 263-276.

จิราภรณ์ เอื้อศิริพรฤทธิ์และพจนา จันทรภาส. (2558). แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารและการปฏิบัติงานตามกระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหารระดับในการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

ชมภูนุช หุ่นนาค สมพร เฟื่องจันทร์ และปภาวดี มนตรีวัต. (2562). แนวทางการพัฒนาระบบบัญชีของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมหาสวัสดิ์ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑลจังหวัดนครปฐม. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน มหวิทยาลัยราชภัฏวิไลยอลงกรณ์, 9(1), 85-97.

ทักษญา สง่าโยธิน. (2560). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์ วิทยาลัยบูรพา, 15(29), 11-23.

พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2562). สำนักงานส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. กรุงเทพฯ. https://www.doae.go.th/index.php

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกไผ่อำเภอท่าตะเกียบ. (2563). เอกสารประกอบการประกวดแปลงใหญ่ดีเด่นระดับจังหวัด ปี 2563 [เอกสารที่ไม่มีการตีพิมพ์]. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกไผ่อำเภอท่าตะเกียบ.

สาธิต ทิพย์มณี และนัยนา เกิดวิชัย. (2562). POSDCoRB และ Good Governance สำหรับธุรกิจเกิดใหม่ในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 5(1), 73-88.

สิริวัลลิ์ พฤกษาอุดมชัย และสวรรยา ธรรมอภิพล. (2560) . ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุตำบลดอนแฝก จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 1439.

ศศิภา พิทักษ์ศานต์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนไปปฏิบัติ กรณีศึกษา อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่. วารสารวิทยาบริการ มหาวิทยาลัยมหิดล, 24(3), 33-45.

เอกชัย เอี่ยมสกุล. (2559). การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนขนมแปลกริมคลองหนองบัว จังหวัดจันทบุรี [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.