การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับจิตนิสัยทางสะเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดยโสธร

Main Article Content

พิริยากุล สิงหรา

บทคัดย่อ

  การจัดการเรียนรู้ทางสะเต็มศึกษาไม่ใช่แค่การพัฒนาความรู้เพียงอย่างเดียว แต่ต้องพัฒนาให้ครบทั้งด้านความรู้ ทักษะและจิตนิสัยทางสะเต็ม ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงถึงอัจฉริยภาพของบุคคล ที่มีทักษะทางด้านความคิด ความเข้าใจ สามารถเชื่อมโยงไปยังเจตคติ นิสัย และพฤติกรรมที่นักเรียนได้แสดงออก ซึ่งเป็นมิติแห่งการเรียนรู้ การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดจิตนิสัยทางสะเต็มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายในจังหวัดยโสธร จำนวน 605 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดจิตนิสัยทางสะเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 42 ข้อ มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.346 ถึง 0.576 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.918 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ (MCFA)


              ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบจิตนิสัยทางสะเต็มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายมี
6 องค์ประกอบ ได้แก่ ความสนใจใฝ่รู้ ความคิดสร้างสรรค์ ความร่วมมือร่วมใจ ความสามารถในการสื่อสาร การคิดแบบบูรณาการ และความมีเหตุผล โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติดังนี้ Chi-square=16.772, df=18, p=0.539, CFI=1.000, RMSEA=0.000, SRMRw=0.021, SRMRb=0.010 และ Chi-square/df=0.931 องค์ประกอบจิตนิสัยทางสะเต็มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายระดับนักเรียนได้แก่ ความสนใจใฝ่รู้ ความร่วมมือร่วมใจ การคิดแบบบูรณาการ ความคิดสร้างสรรค์ ความมีเหตุผล และความสามารถในการสื่อสาร สามารถอธิบายความแปรปรวนของจิตนิสัยทางสะเต็มสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายได้ร้อยละ 41.60 , 28.10 27.10, 26.00, 25.40 และ14.10 ตามลำดับ ส่วนองค์ประกอบจิตนิสัยทางสะเต็มของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาตอนปลายระดับห้องเรียน ได้แก่ การคิดแบบบูรณาการ ความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการสื่อสาร ความมีเหตุผล ความร่วมมือร่วมใจ และความสนใจใฝ่รู้ สามารถอธิบายความแปรปรวนของจิตนิสัยทางสะเต็มสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายได้ร้อยละ 99.99 ,99.98, 99.10, 97.60, 96.30 และ 90.40 ตามลำดับ ผู้บริหาร ครูเน้นการส่งเสริมและจัดให้มีกิจกรรมที่เน้นการบูรณาการระหว่างวิชาให้แก่ผู้เรียน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีจิตนิสัยทางสะเต็ม พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนวิธีการสอน ออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ได้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้  สร้างสถานการณ์ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้ อยากเห็นและคิดหาวิธีการแก้ปัญหา หาคำตอบด้วยตนเอง ตลอดจนการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

ชลิดา ไชยพันธ์กุล. (2559). การพัฒนาตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตมหาบัณฑิต]. สำนักห้องสมุดมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://opac01.stou.ac.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=154699

ทรายทอง พวกสันเทียะ. (2553). การพัฒนาแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนประถมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภเนตร ธรรมบวร. (2544). การประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นัสรินทร์ บือซา. (2558). ผลการจัดการเรียนณชรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา ความสามารถในการแก้ปัญหาและความพึงพอใจต่การจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นารีนารถ นาคหลวง. (2550). การพัฒนาแบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ด้านความสนใจใฝ่รู้ความมีเหตุผล และความใจกว้าง ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 กลุ่มโรงเรียนเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

นิตยา ภูผาบาง. (2559). การใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษา เรื่อง พลาสติกชีวภาพจากแป้งมันสำปะหลัง เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

พงศธร มหาวิจิตร และคณะ. (2561). ศึกษาการพัฒนาชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10, 209-221. https://issuu.com/pimjournal/docs/10

มัณฑรา ธรรมบุศย์. (ม.ป.ป.). จิตวิทยาสำหรับครู. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

https://sites.google.com/site/psychologybkf1/home

รัฏฏิกา ตั้งพุทธิพงศ์. (2559). การวิเคราะห์กระบวนการขับเคลื่อนนโยบายสะเต็มศึกษาจากระดับชาติสู่ห้องเรียน [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วราพร เอราวรรณ์. (2564). การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยทางการศึกษาด้วยโปรแกรม Mplus. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วศิณีส์ อิศรเสนา ณ อยุธยา. (2559). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ STEM education (สะเต็มศึกษา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วาสนา จันเสริม. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้จิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิทยา นาควัชระ. (2545). คนนิสัยดี. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558). สะเต็มศึกษา (STEM Education). กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).

สังวรณ์ งดกระโทก. (2543). การใช้โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับตรวจสอบความตรงของโมเดลสมการโครงสร้างแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยครู ปัจจัยโรงเรียน กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 13(3), 109-128. https://portal.edu.chula.ac.th/pub/jrm/index.php/jrm/article/view/233/pdf_183

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอนโยบายการส่งเสริมการจัดการศึกษา ด้านสะเต็มศึกษาของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอนโยบายการส่งเสริมการจัดการศึกษา ด้านสะเต็มศึกษาของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟิค.

อนงค์นาฏ ครุณรัมย์. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมจิตนิสัยทางสะเต็มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อาทิตยา พูนเรือง. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Costa, A.L. and Kallick, B. (2000). Discovering and exploring habits of mind. United States: Association for Supervision & Curriculum Development.

Covey, S.R. (2004). The 7 Habits of Highly Effective People. New York: Simon and Schuster.

Hooper, D. and others. (2008). Structural Equation Modeling: Guidelines for Determining Model Fit. Electronic Journal on Business Research Methods, 6(1), 53-60. https://www.scirp.org/(S(i43dyn45teexjx455qlt3d2q))/reference/ReferencesPapers.aspxReferenceID=1617449

Loveland, T. and Dunn, D. (2014). Teaching Engineering Habits of mind in Technology Education. Technology and Engineering Tezcher, 73(8), 13-19.