นาฏยลักษณ์การรำของตัวนางในพิธีกรรมที่เกี่ยวกับไฟ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานาฏยลักษณ์การรำของตัวนางในพิธีกรรมที่เกี่ยวกับไฟ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการศึกษาเอกสารและเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามโดยการสำรวจ ฝึกปฏิบัติ สังเกตการณ์การแสดง และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 4 คน โดยแบ่งออกเป็นด้านนาฏศิลป์จำนวน 2 คน ด้านดนตรีจำนวน 1 คน ด้านความเชื่อและพิธีกรรมในการแสดงนาฏศิลป์ไทย จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกตการณ์แล้วนำผลมาวิเคราะห์โดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า การแสดงนาฏศิลป์ไทยมีการนำวิถีชีวิต วัฒนธรรมตลอดจนความเชื่อในเรื่องพิธีกรรมเข้ามาแทรกในการแสดงของตัวละครหลักของเรื่อง สำหรับพิธีกรรมที่เกี่ยวกับไฟขอตัวนาง ในการแสดงละครรำซึ่งมีอยู่จำนวน 4 ชุด ได้แก่ ชุดสีดาลุยไฟและศรีมาลาลุยไฟ ใช้ไฟเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ ชุด ดรสาแบหลา ใช้ไฟเพื่อแสดงความซื่อสัตย์ต่อสามี และชุดมโนราห์บูชายัญ ใช้ไฟเพื่อเป็นอุบายในการเอาตัวรอด โดยแต่ละชุดการแสดงมีกระบวนรำของตัวละครนางที่มีความเหมือนและแตกต่างกันออกไปตามฐานะ ลักษณะและบุคลิกตัวละคร ซึ่งพบนาฏยลักษณ์การรำที่เกี่ยวกับไฟ 4 ด้านได้แก่ ท่ารำ เพลงที่ใช้ช่วงพิธีกรรม ทิศทางการเคลื่อนที่กับกองไฟ ลีลาและบุคลิกการรำในช่วงพิธีกรรมพบว่า นางสีดา นางศรีมาลาและนางดรสาใช้ท่าการแต่งกายและท่าเยื้องกราย ในเพลงเชิดฉิ่ง ส่วนนางมโนราห์ใช้ท่ารำตามบุคลิกของตัวละครซึ่งเป็นนกจึงทำให้ท่ารำแตกต่างไป แต่อย่างไรก็ดี ทั้ง 4 ชุดการแสดงตัวละครใช้การเคลื่อนที่ในการรำในพิธีกรรมเป็นรูปแบบเดียวกัน บทความนี้นอกจากเป็นการศึกษานาฏยลักษณ์การรำแล้วยังเป็นการส่งเสริมสังคมเชิงครอบครัวเกี่ยวกับเรื่องของความรัก ประเพณีและพิธีกรรมให้คงอยู่สืบไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กรมศิลปากร. (2556). โขน อัจฉริยนาฏกรรมสยาม. กองการสังคีต.
กรมศิลปากร. (2496). สูจิบัตร โขน เรื่อง รามเกียรติ์ ชุด สีดาลุยไฟและปราบบรรลัยกัลป์. กองการสังคีต.
กรมศิลปากร. (2498). สูจิบัตรละคร เรื่อง มโนราห์. โรงพิมพ์พระจันทร์.
กัญญาวีร์ เปี้ยนสีทอง และคณะ. (2555). บทบาทนางสีดาในการแสดงโขน : สีดาลุยไฟ [วิทยานิพนธ์ปริญญาตรี ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
เกษม บุญศรี. (2525). สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน ตอนที่ 94. โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม.
จุฬาลักษณ์ เชิดโฉม และคณะ. (2550). ศึกษารูปแบบการรำมโนราห์บูชายัญเฉพาะทางของอาจารย์บุนนาค ทรรทรานนท์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2544). เสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน เล่มที่ 2.
ธนัชพร เรื่องศรี และนพวรรณ คงสาธิตพร. (2561). ละครเสภา เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน สร้อยฟ้าศรีมาลาลุยไฟ [วิทยานิพนธ์ปริญญาตรี ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
นฤมล ณ นคร. (2546). อาศรมศึกษาทางนาฏศิลป์ไทย. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุนนาค ทรรทรานนท์. (2562). นาฏลีลามโนราห์ บูชายัญ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อินดี้ พริ้นติ้ง.
บุนนาค ทรรทรานนท์. (2562) สัมภาษณ์.
ผุสดี หลิมสกุล. (2555). รำเดี่ยวแบบมาตรฐานตัวนาง เล่มที่ 1. (พิมพ์ครั้งที่ 3). แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด.
มานิต มานิตเจริญ. (2531). พจนานุกรมไทย. อักษรพิทยา.
สมปราชญ์ อัมมะพันธ์. (2536). ประเพณีและพิธีกรรมในวรรณคดีไทย. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์.
สวภา เวชสุรักษ์. (2537). มโนราห์บูชายัญ : การประยุกต์ท่ารำจากดรสาแบหลา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรัตน์ จงดา. (2564) สัมภาษณ์.
อคิน รพีพัฒน์. (2551). วัฒนธรรมคือความหมาย. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
อิงอร ศรีสัตบุษย์. (2529). "ชีวิตในวังสวนกุหลาบ" ใน “เทิดเกียรติท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี 15 เมษายน 2529”. อมรินทร์การพิมพ์.