เทคนิคการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการนำเสนองานทางธุรกิจ: กรณีศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

Main Article Content

อนงค์นาถ ทนันชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์ภูมิหลังความต้องการและสภาพเริ่มต้นในด้านทักษะการนำเสนอของนักศึกษารายวิชาการนำเสนอผลงานทางธุรกิจ และ 2) เพื่อวิเคราะห์การใช้แผนการสอนในการพัฒนาทักษะการนำเสนอให้กับนักศึกษารายวิชาการนำเสนอผลงานทางธุรกิจ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่เรียนวิชาการนำเสนอผลงานทางธุรกิจ จำนวน 52 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสังเกตพฤติกรรม (บันทึกหลังการสอน) และแบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบประเมินทักษะการนำเสนอของผู้เรียน แบบวัดความพึงพอใจในการเรียนของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ภูมิหลังความต้องการและสภาพเริ่มต้นของผู้เรียนในด้านทักษะการนำเสนอนั้น มีความสามารถในการคิด การวางแผนเพื่อนำเสนอดี สามารถจัดลำดับเนื้อหาในการนำเสนอได้ทั้งงานด้านธุรกิจ เช่น การนำเสนอสินค้า/บริการ และด้านวิชาการ เช่น การเขียนรายงานเพื่อนำเสนอเชิงวิชาการ และการเขียนบรรณานุกรม เอกสารอ้างอิง ทั้งนี้ผู้เรียนมีความต้องการที่จะพัฒนาตนเอง เนื่องจากเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ซึ่งใกล้สำเร็จการศึกษา และต้องการนำความรู้ไปใช้กับการทำงานในอนาคต ภายหลังที่เรียนวิชาการนำเสนอผลงานทางธุรกิจไปแล้ว พบว่า ผู้เรียนมีทักษะการนำเสนอดีขึ้น แสดงออกถึงความชอบ ความสนใจในวิธีการสอนแบบลงมือปฏิบัติ สามารถทำผลงานได้ในระดับดี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทำงานเป็นกลุ่มได้ดี สามารถคิดแก้ไขปัญหาจากโจทย์ที่ได้รับนำความรู้ที่เรียนไปใช้ในการทำงานร่วมกับโครงการของมหาวิทยาลัยได้ แสดงออกถึงการมีภาวะผู้นำกล้าแสดงออก เป็นตัวแทนหลักสูตรฯ ไปนำเสนอผลงานในระดับมหาวิทยาลัยได้ และผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า การใช้แผนการสอนจัดการเรียนแบบใฝ่รู้ด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสามารถพัฒนาผู้เรียนได้ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะกิจกรรมการเขียนรีวิวร้านค้า ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิด การแก้ไขปัญหา ผลิตงานที่ทันสมัยได้ใช้ความสามารถ ลงมือปฏิบัติได้จริง ผลการศึกษากิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการนำเสนอของผู้เรียน พบว่า กิจกรรมที่ใช้ในการเรียนพัฒนาทักษะการนำเสนอได้ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะทักษะด้านการคิดของผู้เรียน ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว ทำให้ผู้วิจัยสามารถนำไปใช้สร้างแผนการสอนจากการจัดการเรียนรู้เชิงรุกได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากงานวิจัยนี้ทำควบคู่ขณะมีการเรียนการสอน ทำให้ผู้วิจัยสามารถเรียนรู้ขั้นตอน ปรับกระบวนการให้สอดคล้องกับผู้เรียน โดยไม่ขัดต่อแนวการสอนที่วางไว้ ประกอบกับวิชานี้มีการจัดกิจกรรมลักษณะนี้มาก่อนนี้เป็นเวลา 3 ปี จึงทำให้ผู้วิจัยเข้าใจบริบทการสอนมากขึ้น ผลการสำรวจความพึงพอใจต่อการเรียนของนักศึกษาที่ได้รับจากการจัดการเรียนแบบใฝ่รู้ด้วยเทคนิคการเรียนรู้เชิงรุก พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยการจัดการเรียนแบบใฝ่รู้ด้วยเทคนิคการเรียนรู้เชิงรุกในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะเนื้อหาการสอนสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง ทำให้ผู้สอนสามารถนำแผนดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาทักษะการนำเสนอให้กับนักศึกษาในรุ่นต่อไปได้ดียิ่งขึ้น

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)
Author Biography

อนงค์นาถ ทนันชัย, หลักสูตรการจัดการบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

อาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

References

จริยา เกิดไกรแก้ว. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โดยใช้สื่อการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ พิมพ์ครั้งที่ 6 26 มิถุนายน 2558 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. 135-145.

ชนากานต์ จิตรมะโน. (2563, 20 สิงหาคม). การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของผู้เรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร ภาคกลาง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. https://www.pkaset.ac.th/downloads/2561-11-05_2.pdf

ชูศักดิ์ เอื้องโชคชัย และคณะ. (2559). คุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับเยาวชนไทย. Journal of Education Studies, 44(4), 63-80.

เดชดนัย จุ้ยชุม และคณะ. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องทักษะการคิดของนักศึกษาในรายวิชาทักษะการคิดด้วยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 47-57.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิสณุ ฟองศรี. (2553). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย. ด่านสุทธาการพิมพ์.

พีระพงษ์ เนียมเสวก. (2556). ผลการจัดกิจกรรมแบบใฝ่รู้ (Active Learning) ด้วยเทคนิคเพื่อนช่วย เรียน เทคนิคคิดเดี่ยว-คิดคู่ คิดร่วมกัน และเทคนิคการอภิปรายเป็นทีมในรายวิชาเคมีอินทรีย์. วารสารจัดการความรู้.

วัฒนา หงสกุล. (2018, June). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในยุคไทยแลนด์ 4.0. ใน รายงานการประชุม Graduate School Conference, 1(2), 479-486.

สิทธิพงษ์ สุพรม. (2561). การพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้เชิงรุกในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 7(2), 49-58.

สุภาพร จตุรภัทร และคณะ. (2018). คุณลักษณะ Soft Skills ที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานใน ยุคประเทศไทย 4.0. วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์, 3(1), 62-80.

สุมิตตา พูลสุขเสริม. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (active learning) ของผู้เรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 3 สาขาวิชาการตลาด วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์ฯ. วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์ฯ.

สุวมาลย์ ม่วงประเสริฐ และสุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์. (2562). ผลลัพธ์การเรียนรู้และความพึงพอใจของนักศึกษาในหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 15(1).