การศึกษาปัญหาและความต้องการที่จำเป็นเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความรอบรู้ในการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

ชนิดาภา ขอสุขวรกุล
ชาติชาย ม่วงปฐม
จุฬามาศ จันทร์ศรีสุคต
สุภัทรา วันเพ็ญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของการจัด    การเรียนการสอนเรื่องเพศศึกษาและการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 2) ศึกษาความต้องการที่จำเป็นสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ในการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนรายวิชาสุขศึกษา ครูประจำชั้น ครูแนะแนว พยาบาลเชี่ยวชาญผู้มีประสบการณ์การดูแลสุขภาพวัยรุ่น ผู้ปกครองนักเรียนวัยรุ่น นักเรียนชายและนักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รวมกลุ่มตัวอย่างทุกกลุ่ม จำนวน 55 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาของการจัดการเรียนการสอนเรื่องเพศศึกษาและการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พบว่า ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์วัยรุ่นของครูและผู้ปกครองส่วนใหญ่เห็นว่า การมีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม ในขณะที่วัยรุ่นส่วนหนึ่งเห็นว่าการมีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องปกติ ส่วนสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ได้แก่ ปัจจัยด้านพัฒนาการของวัยรุ่น ค่านิยมและทัศนคติ การเลี้ยงดูของครอบครัว สภาพทางสังคมและสิ่งแวดล้อม และด้านสื่อสังคม สภาพการจัดการเรียนการสอนเพศศึกษาและการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในปัจจุบันพบว่ายังมีปัญหาทั้งด้านหลักสูตร ครูผู้สอน สื่อการเรียนการสอน และด้านการวัดและประเมินผล 2) ความต้องการที่จำเป็นสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ในการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร พบว่า มีข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ในการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ทั้งหมด 6 ด้านได้แก่ ด้านหลักสูตร เนื้อหา ครูผู้สอน กิจกรรมการจัดการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน และ ด้านการวัดและการประเมินผล

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กรมอนามัย. (2561, 24 พฤศจิกายน). พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 เล่ม 133 ตอนที่ 30 ก.rh.anamai.moph.go.th.

กรมอนามัย. (2560). ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. 2560-2569 ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559. เทพเพ็ญวานิสย์.

กรมอนามัย. (2561, 2 สิงหาคม). สถานการณ์อนามัยเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชนปี 2562. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. http://rh.anamai.moph.go.th.

กระทรวงสาธารณสุข. (2557). ประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรสำหรับสตรีไทยวัยรุ่น อายุ 15-21 ปี. กองสุขศึกษา.

เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2562). การสนทนากลุ่ม: เทคนิคการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ.วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 12(1), 17-30.

ธีรศักดิ์ ลักษณานันท์ และ สมพร อิทธิเดชพงษ์. (2558). การจัดการปัญหาและการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในพื้นที่แบบมีส่วนร่วม. สำนักสร้างและจัดการความรู้.

บุรเทพ โชคธนานุกุล และ กมลชนก ขำสุวรรณ. (2559). “การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” ผลกระทบทางสังคมจากมุมมองเรื่องเพศของแม่ต่างรุ่น. วารสารประชากร, 4(2) (กันยายน 2559).

ประดิษฐ์พร พงศ์เตรียง และ ทัศนีย์ สุนทร. (2561). การรับรู้เรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยและแนวทางการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในวัยรุ่นชาย:การวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 38(3), 152-166.

มาลี สบายยิ่ง. (2562). พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในสังคมปัจจุบัน. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 30(3), 121-127.

รณชัย โตสมภาค. (2561, 22 มกราคม). แนวทางกำหนดนโยบายในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. https://www.parliament.go.th/

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2561, 19 พฤศจิกายน). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔. https://www.nesdb.go.th.

สัญญา เคณาภูมิ. (2558). การสร้างกรอบแนวคิดการวิจัยโดยใช้ทฤษฎีจากฐานราก. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(3).

Creswell, J.W. (2013). Qualitative inquiry research design, 3rd. SAGE publications.

Kimemia, K. A. & Mugambi, M. M. Social media and teenage pregnancy among students in secondary schools in Imenti North Sub-County, Meru County, Kenya.

International Journal of scientific research and management (IJSRM). 4(9), 4586-4606. DOI: 10.18535/ijsrm/v4i9.18.

Nutbeam, D. (2015). Defining, measuring, and improving health literacy. HEP, 42(4), 450-456.

WHO. (2014). Adolescent pregnancy. Department of Reproductive Health and Research. Geneva: WHO.