สภาพ ความต้องการจำเป็น และแนวทางพัฒนาการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน 2) ประเมินความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน 3) พัฒนาแนวทางพัฒนาการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 66 คนและครู 204 คน รวม 270 คน และผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์ จำนวน 3 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 4 ฉบับ คือ (1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน จำนวน 32 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.30-0.64 และมีค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 (2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ จำนวน 32 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.36-0.96 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 (3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จำนวน 13 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ (4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางพัฒนาการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน จำนวน 27 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีการจัดลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) การประเมินความต้องการจำเป็นที่มีค่าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการสร้างสื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการออกแบบเนื้อหาการเรียนรู้ และด้านการบูรณาการการจัดการเรียนการสอน 3) ผลการประเมินแนวทางพัฒนาการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน พบว่า มีความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กรณ์สิณี ฐิติกรประภาพงศ์. (2558). การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อการใช้อินเทอร์เน็ตในการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2. Veridian E-Journal, Slipakorn University,8(3), 1-13.
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 1). กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). การเรียนรู้ดิจิทัลเทคโนโลยี โรงเรียนมาตรฐานสากล. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กิตติชัย สุธาสิโนบล. (2562). หลักสูตรและการเรียนรู้แบบดิจิทัล. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์,20(1), 200-211.
เฉลียวศรี พิบูลชล. (2551). การจัดการเรียนรู้ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ. บรรณศาสตร์ มศว, 1, 2-3.
ทวี จันทร์เติม. (2562). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิชาการ, 13(2), 17-18.
ปณพักตร์ พงษ์พุทธรักษ์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนการสอนของครูโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารชุมชนวิจัย, 13(1), 214-227.
ภาสกร เรืองรอง. และคณะ. (2557) เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่ 2. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(ฉบับพิเศษ), 195-198.
เยาวเรศ ภักดีจิตร และคณะ. (2563). รูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์. มรม, 14(3), 159-172.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2563). จากการเรียนรู้ออนไลน์สู่การสร้างสรรค์นวัตกรรม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต 1. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2563-2565 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต 1.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. คำสั่งที่ ศธ. 0506(1)/ว086. เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติเกี่ยวกับสมรรถนะดิจิทัลสำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรี. ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2561.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555 – 2559. กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สุธน ศรีศักดิ์บางเตย. (2562). แนวทางพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในโรงเรียนพระแท่นดงรังวิทยาคาร, วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 4(3), 463-464.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิชาติ เหล็กดี. (2560). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่อเสมือนจริงเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิด. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 4(2), 177-186.
อมรรัตน์ จินดา. (2558). สภาพปัญหาและแนวทางการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาสำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. การค้นคว้าแบบอิสระ [ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อลงกรณ์ เกิดเนตร และศักดิ์ชัย ไชยรักษ์. (2564). คุณลักษณะและสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับครูและนักศึกษาครูในยุคดิจิทัล. วารสารการศึกษาไทย, 18(1), 22-30.
อินทิรา ชูศรีทอง. (2563). รูปแบบการพัฒนาครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเละการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Agarwal, N. and Ahmed, F. (2017). Developing collective learning extension for rapidly evolving information system courses, Education and Information Technologies, 22(1), 7-37.
Ghavifekr, Simin and Wan Rosdy, Wan Athirah. (2015). Teaching and Learning with Technology: Effectiveness of ICT Integration in Schools. International Journal of Research in Education and Science, 1(2) Summer 2015.
Matthew J. Koehler and others. (2013). The Technological Pedagogical Content Knowledge Framework for Teachers and Teacher Educators.https://www.researchgate.net/publication/267028784_The_Technological_Pedagogical_Content_Knowledge_Framework_for_Teachers_and_Teacher_Educators
Ming-Hung Lin 1, Huang-Cheng Chen and Kuang-Sheng Liu. (2016). A Study of the Effects of Digital Learning on Learning Motivation and Learning Outcome. EURASIA Journal of Mathematics Science and Technology Education, 13(7), 3553-3564.