การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมผู้นำการท่องเที่ยวในระดับพื้นที่

Main Article Content

สุเมธ งามกนก
ปริญญา นาคปฐม
กฤษฏิพัทธ์ พิชญะเดชอนันต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมผู้นำการท่องเที่ยวระดับพื้นที่ โดยใช้แนวคิดการสร้างหลักสูตรฝึกอบรมของ Taba  และ Saylor and Alexnder ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ใช้กลุ่มตัวอย่างในการรวบรวมข้อมูล 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ จำนวน 2,517 แห่ง 401 คน จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว 2) การสัมภาษณ์ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เพื่อศึกษาสิ่งที่จำเป็นต้องพัฒนาให้กับผู้นำการท่องเที่ยวในระดับพื้นที่ 3) การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จำนวน 13 คน เพื่อจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมผู้นำการท่องเที่ยวระดับพื้นที่ ขั้นตอนที่ 2 การร่างหลักสูตร โดยคณะกรรมการจัดทำร่างหลักสูตร “ผู้นำการท่องเที่ยวระดับพื้นที่”ดำเนินการประชุมแบบสนทนากลุ่ม ขั้นตอนที่ 3 การประเมินร่างหลักสูตร โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จำนวน 22 คน ขั้นตอนที่ 4 การศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตร โดยกลุ่มทดลองซึ่งเป็นบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สมัครใจเข้าร่วมอบรม ระยะเวลา 3 วัน จำนวน 30 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ หลักสูตรผู้นำการท่องเที่ยวระดับพื้นที่ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น คู่มือและเอกสารประกอบการฝึกอบรม สื่อประกอบการฝึกอบรม และแบบประเมินความพึงพอใจ ขั้นตอนที่ 5 การประเมินและปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมผู้นำการท่องเที่ยวในระดับพื้นที่ ประกอบด้วย 23 ประเด็น ได้แก่ (1) การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว และแหล่งท่องเที่ยวเฉพาะ (2) การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวระดับพื้นที่เพื่อความยั่งยืน (3) การจัดการข้อมูลและระบบงานสารสนเทศทางการท่องเที่ยว (4) การจัดการความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยวตามมาตรฐานสากล (5) การพัฒนาช่องทางการตลาดเชิงรุกผ่านสื่อสมัยใหม่ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการท่องเที่ยว (6) การจัดการการท่องเที่ยวในภาวะวิกฤต (7) บทบาท หน้าที่และอำนาจ ภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในมิติทางการท่องเที่ยว (8) การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน (9) การจัดการองค์ความรู้มรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น (10) การสร้างแนวความคิดในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (11) จิตวิทยาการบริการ ทัศนคติ และจิตอาสา (12) การพัฒนาคุณภาพการบริการ (13) การพัฒนากิจกรรมทางการท่องเที่ยว (14) ทรัพยากรการท่องเที่ยวกับมิติทาง ภูมิสถาปัตย์ (15) การสร้างภาพลักษณ์ทางการท่องเที่ยว (16) การบริหารภาคีเครือข่าย และการเชื่อมโยงกลุ่มจังหวัดทางการท่องเที่ยว (17) การวางแผนและพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวในมิติที่หลากหลาย (18) การจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติแบบมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืน 19) การจัดทำโครงการตามแผนยุทธศาสตร์แบบบูรณาการ (20) การเขียนโครงการ งบประมาณ การปฏิบัติด้านระเบียบการเบิกจ่าย และการตรวจสอบโครงการ และการเสนอขอโครงการ (21) การพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลโครงการ แบบมุ่งวัดผลสัมฤทธิ์ (22) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการบูรณาการ (23) ศาสตร์ของพระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในมิติการบริหารจัดการทางการท่องเที่ยว 2) ผลการร่างหลักสูตรฝึกอบรมผู้นำการท่องเที่ยวในระดับพื้นที่ ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ (1) ข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วย ชื่อหลักสูตร และลักษณะหลักสูตร เงื่อนไขการใช้หลักสูตร (2) ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร ประกอบด้วย สถานการณ์ที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณา หลักการและเหตุผล และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร 3) โครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วย คุณสมบัติผู้เข้าร่วมอบรม ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังจากการฝึกอบรม และโครงสร้างการเรียนรู้ของหลักสูตรฝึกอบรม (4) สาระการเรียนรู้และการประเมินผล ประกอบด้วย สาระการเรียนรู้ตามโครงสร้างหลักสูตรฝึกอบรม แผนการเรียนรู้ในการจัดฝึกอบรม ความสัมพันธ์ระหว่างสาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังจากการฝึกอบรม การประเมินการเรียนรู้ในการฝึกอบรม และ (5) แนวทางการจัดการฝึกอบรม และรักษามาตรฐานหลักสูตร 3) ผลการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรฝึกอบรมก่อนนำไปใช้จริงตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ ร้อยละ 100 4) ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมในหลักสูตรฝึกอบรมผู้นำการท่องเที่ยวระดับพื้นที่ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก 5) การประเมินและปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร มีการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และจากความเห็นของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ทั้งในด้านเนื้อหาของการอบรม ระยะเวลาในการอบรม ให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ทำให้หลักสูตรสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีคุณภาพ

Article Details

บท
Academic Articles (บทความวิชาการ)

References

จิระพงค์ เรืองกุน และ วิทยา นามเสาร์. (2563). สมรรถนะผู้นำกลุ่มท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนท่องเที่ยวที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทย. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 16(2), 43 – 70.

ชุลีรัตน์ จันทร์เชื้อ. (2551). การวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนาสมรรถนะในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. [ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มธุรดา เอี่ยมสุภา. (2558). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนสำหรับมัคคุเทศก์น้อยในจังหวัดสิงห์บุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

มนูญ ชัยพันธ์. (2548). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องการสร้างหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับครูประถมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุมณฑา พรหมบุญ และ อรพรรณ พรสีมา. (2549). การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. ใน ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม: ต้นแบบการเรียนรู้ทางด้านหลักทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). ยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

Johnson, D. W., Johnson, R. T., & Holubec, E. J. (1994). The Nuts and Bolts of Cooperative Learning. Minnesota: Interaction Book.

Saylor, Galen, J. & Alexander. W. M. (1974). Planning Curriculum for Schools. New York: Holt Rinehart & Winston.

Taba. Hilda. (1962). Development Curriculum: Theory and Practice. New York: Harcourt Brace & World.

Tyler, Ralph W. (1969). Basic Principle of Curriculum and Instruction. Chicago: The University of Chicago Press.