การบริหารงานห้องสมุดของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย

Main Article Content

กัญญาณัฐ พิลึก
สถิรพร เชาวน์ชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานห้องสมุดของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย 2) หาแนวทางการบริหารงานห้องสมุดของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย โดยวิธีการดำเนินการวิจัย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาการบริหารงานห้องสมุดของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และบรรณารักษ์ สังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย จำนวน 54 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามแบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นทางสถิติที่ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขั้นตอนที่ 2 หาแนวทางการบริหารงานห้องสมุดของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารงานห้องสมุด จำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานห้องสมุดของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการจัดการอาคารสถานที่ มีการดำเนินงานสูงสุด และด้านการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ มีการดำเนินงานต่ำสุด 2) แนวทางการบริหารงานห้องสมุดของโรงเรียนมัธยมศึกษา พบว่า ผู้บริหารควรประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสำรวจความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวก และมีส่วนร่วมในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศมีเพียงพอให้บริการ สนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียนเพื่อหารายได้มาใช้ปรับปรุงพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน ทั้งนี้ผู้บริหารและครูควรส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสาผู้ช่วยบรรณารักษ์ เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสฝึกปฏิบัติทำงานร่วมกันเกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กรุณา พยัคฆชนม์. (2552). การบริหารจัดการห้องสมุดโรงเรียน. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1. http://www.wachum.com/dewey/000/schl1.doc

เทิดศักดิ์ ไม้เท้าทอง. (2561). ห้องสมุดโรงเรียนในศตวรรษที่ 21: แนวคิดในต่างประเทศ. วารสารห้องสมุด, 62(2), 1-17.

น้ำทิพย์ วิภาวิน และ นงเยาว์ เปรมกมลเนตร. (2551). นวัตกรรมห้องสมุดและการจัดการความรู้. ซีเอที โซลชั่น.

นลินี ทับวิเชียร. (2561). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาคุณภาพห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษาอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

พิมพ์นภา ส่งสัมพันธ์สกุล. (2557). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิต โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2556). โครงการพัฒนาองค์ความรู้ห้องสมุดและวิชาชีพบรรณารักษ์ แนวปฏิบัติที่ดีสำหรับห้องสมุด. สำนักนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สุรชัย ศรีใส. (2557). รายงานการศึกษาแนวทางการพัฒนาห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-library) ในมุมมองของผู้บริหารและบุคลากรสำนักวิทยบริการ. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

สุนิสา อุดมเดช. (2558). การศึกษาแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศของการบริหารห้องสมุดมีชีวิต กรณีศึกษาโรงเรียนวังทองพิทยาคม [การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุธิดา ธนบัตร. (2560). การบริหารงานห้องสมุดของโรงเรียนในเครือข่ายที่ 8 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดระนอง. (ประธาน), การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานานชาติ ครั้งที่ 8. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, กรุงเทพมหานคร.

สุธีรา งามเกียรติทรัพย์. (2561). รูปแบบการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตสำหรับวัดในประเทศไทย. วารสารมหาจุฬาวิชาการม, 5(1), 184-185.

สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2549). แนวทางการจัดการห้องสมุดโรงเรียนให้มีชีวิต. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). มาตรฐานห้องสมุดและตัวบ่งชี้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพห้องสมุดโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักอุทยานการเรียนรู้. (2558). คิดทันโลก:ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สำนักงานอุทยานการเรียนรู้.