การบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษา ในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อสภาพการบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 และ 3) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรในสถานศึกษาที่สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 และบุคลากรในสถานประกอบการของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาหรือหัวหน้าแผนกวิชา จำนวน 28 คน ครูผู้สอน จำนวน 148 คน ผู้แทนจากสถานประกอบการ จำนวน 115 คน รวม 291 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน ด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า ตามแบบของลิเคอร์ท จำนวน 39 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง มีข้อคำถามจำนวน 4 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มาก 2) การเปรียบเทียบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่.01 และจำแนกตามตำแหน่งโดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนการจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี พบดังนี้ 1) ด้านผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษามีการคัดเลือกผู้เรียนที่มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ มีความรับผิดชอบ ให้ผู้เรียนปฏิบัติงานตามตำแหน่งงานในสถานประกอบการที่มีค่าตอบแทนสวัสดิการต่าง ๆ ผู้เรียนได้รับการทดสอบมาตรฐานเพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของเรียน 2) ด้านคุณภาพการจัดการเรียนการสอน มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือร่วมกัน มีการจัดการหลักสูตรที่มีความยืดหยุ่น สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้จัดทำโครงงานศึกษาร่วมกับสถานประกอบการ โดยใช้หลักการ Kaizen 3) ด้านคุณภาพการบริหารจัดการ กำหนดยุทธศาสตร์ ให้สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีการวางแผนพัฒนากำลังคนในที่ชัดเจน จัดทำระเบียบการลดหย่อนภาษีของสถานประกอบการอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี 4) ด้านคุณภาพความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการมีการบริหารจัดการเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง มีการประเมินผลการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีร่วมกัน ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ แนะแนวผู้เรียนเข้าสู่อาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
คชกร บัวคำ. (2554). สภาพและปัญหาในการบริหารงานวิชาการสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.
คมสัน รักกุศล, ธีรวุธ ธาดาตันติโชค, โยธิน ศรีโสภา. (2560). “ปัจจัยที่สนับสนุนการจัดการอาชีศึกษาระบบทวิภาคี ของสถานศึกษาอาชีวศึกษาในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 8(1), 30-48.
จงจิตร จับใจนาย. (2554). การศึกษาการบริหารงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีตามมาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดเชียงราย [การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.
ฉลอง นพคุณ. (2561). ปัญหาการบริหารงานวิชาการของวิทยาลัยในสังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดนครราชสีมา [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
ชญานิน สง่าเพ็ชร. (2560). การบริหารงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูสถาบันการอาชีศึกษาภาคกลาง 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี.
นงเยาว์ กัลยาลักษณ์. (2558). การพัฒนาแนวทางการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี อาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น. การพัฒนาหลักสูตรพัฒนานักบริหารระดับสูงกระทรวงศึกษาธิการ (นบส.ศธ.) รุ่นที่ 5, สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). สุวีริยาสาส์น.
ยุพาวดี ศิริปีริดิ์. (2559, 15 มกราคม). การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีใน สถานศึกษาสังกัด อาชีวศึกษาจังหวัดอุดรธานี. การประชุมวิชาการการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติและนานาชาติ 2559. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
ศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี. (2557). คู่มือประเมินสถานศึกษาที่จัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสู่ความเป็นเลิศ. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2551). พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2555). ยุทธศาสตร์ของสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2557). แนวทางปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี พ.ศ. 2557. บริษัท จามจุรีโปรดักส์ จำกัด.
สุเมธ รินทลึก. (2564). การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสู่ความเป็นเลิศในสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(3). 39-53.
สุรชัย ลาพิมพ์. (2562). การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีสู่ความเป็นเลิศของวิทยาลัยสังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดอุดรธานี [ปริญญาวิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.