การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ด้านการคิดวิเคราะห์ในรายวิชาการเมืองไทยสมัยใหม่โดยใช้เทคนิคการสอนแบบซินดิเคท (Syndicate) ของนักศึกษาหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ด้านการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษา 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบซินดิเคท (Syndicate) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการเมืองไทยสมัยใหม่ จำนวน 44 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยทดลองเบื้องต้น ใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียว และทดสอบก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการสอน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบซินดิเคท (Syndicate) โดยผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสอน และด้านรัฐศาสตร์ โดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมานเพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบซินดิเคท (Syndicate) โดยใช้สถิติทดสอบนี้
ผลการวิจัย พบว่า 1) นักศึกษาที่เข้าร่วมการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคการสอนแบบซินดิเคท (Syndicate) มีการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบซินดิเคท (Syndicate) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก รายด้าน พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจด้านประโยชน์ที่ได้รับอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2549). หนังสือผู้ชนะสิบทิศ: ลายแทงนักคิด (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.
ขวัญตา บัวแดง. (2553). การศึกษาผลการเรียนรู้ เรื่อง วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชลธร เวชศาสตร์ (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษาและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยการสอนแบบซินดิเคทกับการสอนแบบธรรมสากัจฉา [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). สุวีริยาสาส์น.
ปราณี กองจินดา. (2549). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และทักษะการคิดเลขในใจของนักเรียนที่ได้รับการสอนตามรูปแบบซิปปาโดยใช้แบบฝึกหัดที่เน้นทักษะการคิดเลขในใจกับนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้คู่มือครู [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 2). 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธสิดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
วิทวัส อินทมานนท์. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษาและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคฝังกราฟิกและแบบซินดิเคท [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). รายงานการวิจัยเรื่อง ผลกระทบโลกาภิวัฒน์ต่อการจัดการศึกษาไทยใน 5 ปีข้างหน้า. บริษัท ออฟเซ็ท เพรส จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุวิทย์ มูลคำ. (2547). ครบเครื่องเรื่องการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สุภรณ์ ช้างงาเนียม. (2553). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับแผนธุรกิจ (Business Plan) วิชาการดำเนินธุรกิจขนาดย่อม โดยการสอนแบบซินดิเคทกับการสอนแบบปกติของนักเรียนระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นปี ที่ 2 คณะบริหารธุรกิจ โรงเรียนเทคโนโลยีชลบุรี. โรงเรียนเทคโนโลยีชลบุรี.
อลิศรา เพ็ชรอาวุธ เอมอร สิทธิรักษ์ อารี สาริปา. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบซินดิเคทร่วมกับเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(1).
Baron, Brigid Jessica Sara. (1993). Collborative Problem Solving: Is Team Performance Greater than what is Exceted from The Most Compertend Member. Dissertation Abstracts International, 53(8), 4389B.
Cronbach, L. J. (1984). Essential of psychology testing. New York: Harper.
Slavin, Robert E. (1987). Cooperative Learning and Cooperative School. Educational Leadership, 46(November 1987), 8 – 26.