การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามเพศ ตำแหน่ง และประสบการณ์ในการทำงาน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 97 คน ครูผู้สอน จำนวน 354 คน รวม 451 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น โดยใช้ขนาดสถานศึกษาเป็นชั้นและใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามปลายเปิดและแบบสอบถามปลายปิด โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.976 โดยใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบัค (Conbach’s alpha coefficient) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีการทดสอบค่าเอฟและวิเคราะห์หาความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบสภาพการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่ง และจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนจำแนกตามเพศ พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมพบว่า ผู้บริหารควรปฏิบัติตามกฎหมาย ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่นในคุณธรรม มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ เปิดโอกาสให้ทุกคนส่วนร่วมในการบริหารงาน ยอมรับข้อคิดเห็นทุกฝ่าย ช่วยกันตัดสินใจ คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กมลพรรณ พึ่งด้วง. (2560). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาวิชา การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). การบริหารสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
โกศล โสดา. (2560). สภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2553). การบริหารการจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล Good Govermance. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เฉลิมพร ห้วยหงส์ทอง. (2558). ระเบียบวาระการประชุมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. เอกสารประกอบการประชุมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียน รัตนราษฏร์บำรุง ครั้งที่ 2/2558 ณ หอประชุมรัชมังคลาภิเษก, 18 พฤษภาคม 2558.
ซอหมาด ใบหมาดปันจอ. (2554). การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสตูล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ทวีวัฒน์ อินทรประเสริฐ. (2559). การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ทักษิณา เหลืองทวีผล. (2551). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์เขต 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ธีระ รุญเจริญ. (2546). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: แอล ที เพรส.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สุวีริยาสาส์น.
ประเสริฐศักดิ์ แก้วหนองแสง. (2557). แนวทางการดำเนินการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษามัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษในจังหวัดยโสธร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 28 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
พระมหาลา พึง ธีรปญฺโญ. (2554). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนนวมินทราชูทิศมัชฌิมจังหวดันครสวรรค์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชกฤษฎีการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (2546, 9 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนที่ 100. ก หน้า 2.
พระสมุห์สนอง ยสิโก. (2557). การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาเขตบางคอแหลม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รวิวรรณ ชินะตระกูล. (2538). คู่มือการทำวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
รินทร์รดี พิทักษ์. (2553). พฤติกรรมการบริหารสถานศึกษาตามหลกัธรรมาภิบาลผู้บริหารในทัศนะของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
รอซีด๊ะ เฮ็ง. (2552). การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารตามความคิดเห็นของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
วีระยุทธ พรพจน์ธรมาส. (2557). องค์ประกอบของธรรมาภิบาลในโรงเรียน. วารสารนักบริหาร.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2559). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเรื่องหลักธรรมาภิบาล. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. อุบลราชธานี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). สถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2542). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สันถวันท์ พยาเลี้ยง. (2552). การบริหารโรงเรียนตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
เสน่ห์ จุ้ยโต. (2557). มิติใหม่การบริหารธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ทฤษฎีและงานวิจัย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อริศรา ขาวพล. (2552). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการเขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
อำนาจ ธีระวนิช. (2553). การจัดการยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัทมาเธอร์บอสแพคเก็จจิ้ง.