การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการคลินิกศัลยกรรมและเสริมความงามของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในเขตภาคตะวันออก

Main Article Content

ชโลทร ฉินธนทรัพย์
ณัฐธิดา ศรีโรบล
สุประวีณ์ บัวเนียม
อภิญญา แดงรักษ์
ทัชชกร สัมมะสุต

บทคัดย่อ

การศึกษางานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารการตลาดแบบ
บูรณาการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการคลินิกศัลยกรรมและเสริมความงาม ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตภาคตะวันออก โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตภาคตะวันออกที่สนใจเข้าใช้บริการหรือมีประสบการณ์ในการใช้บริการคลินิกศัลยกรรมและเสริมความงาม จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามออนไลน์ ผ่าน Google forms จำนวน 1 ฉบับ ประกอบด้วยคำถามปลายปิด 3 ส่วน และคำถามปลายเปิด 1 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณในการทดสอบสมมติฐาน


ผลการวิจัย พบว่า การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการคลินิกศัลยกรรมและเสริมความงาม ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตภาคตะวันออก โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านการตลาดทางตรง Beta = 0.406, ปัจจัยด้านการใช้พนักงานขาย Beta = 0.268 และปัจจัยด้านการส่งเสริมการขาย Beta = 0.228 ปัจจัยที่ไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ คือ ปัจจัยด้านการโฆษณา Beta = -0.017 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อแนะนำควรศึกษาในรูปแบบการสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่าง เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ เพื่อให้งานวิจัยฉบับนี้มีเนื้อหาที่ครบถ้วน และครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ทำการศึกษาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการโฆษณา การส่งเสริมการขาย การใช้พนักงานขายและการตลาดทางตรงในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดของคลินิกศัลยกรรมและเสริมความงาม เพื่อสร้างความพึงพอใจและเกิดพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกใช้บริการของนักศึกษา

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กนกพร พิทักษ์รุ่งเรือง. (2559). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและคุณค่าตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์โตโยต้าของผู้บริโภคในเขตจังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

กรุงเทพธุรกิจ. (2558, 26 มกราคม). การศัลยกรรมความงาม: สร้างสรรค์ หรือ สร้างกรรม. กรุงเทพ.

กุศล ประวิชไพบูลย์. (2563, 19 มิถุนายน). เทรนด์ความงาม 2020 ดูแลผิว – ปรับรูปหน้าอ่อนเยาว์ตอบโจทย์ยุคสมัยชี้ดันธุรกิจความงามไทยโตก้าวกระโดด. สยามรัฐออนไลน์.https://siamrath.co.th/n/163962

ดารา ทีปะปาล. (2557). การสื่อสารการตลาด (ปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

ทรงพร เสนากูล และสุทธาวรรณ จีรพันธุ. (2559). พฤติกรรมของผู้บริโภคต่อการรับริการคลินิกความงาม ในจังหวัดเชียงราย. กรุงเทพฯ.

พรรณธิชา เพชรรักษ์. (2556). ความงามแห่งมายา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยศิลปากร. http://www.sure.su.ac.th/xmlui/xmlui/bitstream/handle/ 123456789/ 5427/Panthicha_Petcharak_ba.pdf?sequence=6&isAllowed=y

ภูธร หนูเพชร. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความใส่ใจสุขภาพ ทัศนคติต่อการศัลยกรรม และความตั้งใจทำศัลยกรรมของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

https://kb.psu.ac.th/psukb/bit stream/2016/13194/4/5710521029.pdf

ศรัณย์ วรรณจำรัส. (2564, 23 มีนาคม). สาวๆ ต้องรู้!! เทคนิคเลือก'คลินิกความงามและศัลยกรรม'ไม่ให้พลาด. ไทยรัฐออนไลน์. https://www.bangkokbiznews.com/news/928725

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561, 21 พฤศจิกายน). ตลาดบิวตี้ยังแจ๋วเกาะเทรนด์ธุรกิจทำเงิน. ธนาคารกสิกรไทย.

https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/ article/KSMEAnalysis/Document/Beauty-Business_Trend.pdf

สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งเสริมสวยนานาชาติ. (2564, 7 กุมภาพันธ์). ส่องเทรนด์ความงามปี 2021 “SELF-CARE สวยขึ้นอีกในแบบรัก(ษ์)ตัวเอง”. ไทยรัฐออนไลน์. https://www.thairath.co. th/lifestyle/health-and-beauty/2024004

ภาวดี รอดประเสริฐ. (2562). ปัจจัยการสื่อสารทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานเสริมความงาม เมโกะ คลินิกของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. http://dspace.bu.ac.th/ bitstream/123456789 /4669/5/supawa dee_rodp.pdf.

Belch, G.E. & Belch, A.B. (1993). Introduction to Advertising and Promotion: An Integrated Marketing Communications Perspective (2nd ed.). Boston: Richard D. Irwin.

Caywood, C., Schultz, D.E., and Wang, P. (1991). Integrated Marketing Communications. [Unpublished doctoral dissertation]. Northwestern University.

Duralia, O. (2018). Integrated marketing communication and its impact on consumer behavior. Studies in Business and Economics, 13(2), 29-40.

Hovland, C. (2003). Integrated Marketing Communications. [Unpublished doctoral dissertation]. Yale University.

Joseph Joshy and Bharadhwaj S. (2011). Consumer Promotions in the Indian Market, Journal of International Consumer Marketing, 23(2), 51–165.

Kitchen, P. J., & Schultz, D. E. (1999). A multi-country comparison of the drive for IMC. Journal of Advertising Research. 39(1), 21-21.

Kotler, P., & Keller, K. (2014). Marketing management (15th ed.). Saddle River: Prentice Hall.

Kotler, Philip. (2003). Marketing Management (11th ed). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Kotler, P., and Keller, Kevin Lane. (2016). Marketing Management (15th ed). Edinburgh: Pearson.

Madhavaram, S., Badrinarayanan, V., & Mcdonald, R.E. (2013). Integrated marketing communication (IMC) and brand identity as critical components of brand equity strategy. Journal of Advertising, 34(4), 69-80.

Beauty editor. (2562, 11 กุมภาพันธ์). รวมคลินิก 'เสริมจมูก' ชลบุรี ทำออกมาแล้วสวยปัง. Wongnai. https://www.wongnai.com/listings/nose-surgery-clinic-chonburi