การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบนำตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบนำตนเอง เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบนำตนเอง เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิต ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในเครือข่ายดงสิงห์ม่วงลาดผักแว่น อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนบ้านผักแว่นอนามัย (คุรุศิษยานุกูล) จำนวน 13 คน ได้มาจากการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 3 ชุด และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่าย 0.20 – 0.80 ค่าอำนาจจำแนก 0.20 – 0.80 และดัชนีความสอดคล้อง 0.60 - 1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติแบบ The Wilcoxon Matched- Pairs Signed -Rank Test
ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบนำตนเอง เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิต มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 81.80/80.51 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 1). ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย: กรุงเทพมหานคร.
ศูนย์กฎหมายกรมควบคุมโรค. (2558, 8 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนที่ 86. หน้า 18-25.
กองฝึกอบรมกรมที่ดินกระทรวงมหาดไทย. (2559). การเรียนรู้ด้วยตนเอง. กระทรวงมหาดไทย.
จุรีรัตน์ แก้วคำแสน. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตโดยใช้ แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ชนกานต์ พิศิษฐวานิช. (2560). การส่งเสริมการคิดวิเคราะห์วิชาประวัติศาสตร์โดยการเรียนรู้แบบนำตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 5-20. https://bit.ly/3v9GR3b.
ดวงกมล พวงแก้ว และวรรณะ บรรจง. (2560). การพัฒนาชุดการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. Social Science and Humanity, 7(2), 358-367.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปราณี จงอนุรักษ์. (2560). การศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง บรรยากาศสำหรับนักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปาริชาติ ประเสริฐสังข์. (2564). การสร้างสื่อการเรียนรู้. 1(1).
พัชรินทร์ ยอดสำโรง. (2560). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบในร่างกายมนุษย์และสัตว์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
พุทธพร นามพรหม. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง สารรอบตัว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
โรงเรียนบ้านผักแว่นอนามัย. (2563). รายงานการประเมินตนเอง ประจำปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านผักแว่นอนามัย (คุรุศิษยานุกูล). โรงเรียนบ้านผักแว่นอนามัย.
วรรณวิภา พูลสวัสดิ์. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง ธรรมชาติและวัสดุรอบตัวของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากการจัดการเรียนรู้แบบปฏิบัติการ โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ประกอบ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2564). การเรียนรู้แบบนำตนเองเชิงสร้างสรรค์. https://bit.ly/3uzfSix.
ศิรินณา ตันติจารุกร. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานเรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สมพร ดิษฐ์เจริญ. (2565, 4-31, มกราคม). ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุพิเศษให้สอดคล้องกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID - 19). ใน สมพร ดิษฐ์เจริญ (ประธาน), การประชุมย่อย [symposium]. โรงเรียนบ้านผักแว่นอนามัย.
สมเจตน์ พันธ์พรม. (2564, 18 พฤษภาคม). การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-directed learning). https://bookscape.co/summit-self-directed-learning.
อัมพร พินะสา. (2564, 6, มกราคม). ประชุมทางไกลชี้แจงแนวปฏิบัติภายใต้สถานการณ์โควิด – 19 สำหรับโรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษา. ใน อัมพร พินะสา (ประธาน), การประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอคอน เฟอเรนซ์. ห้องประชุม สพฐ. 1.