คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาคุณลักษณะ เปรียบเทียบคุณลักษณะ และศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 457 คน โดยใช้ตารางการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน ด้วยการสุ่มอย่างง่าย และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก โดยแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับตามวิธีของครอนบาค เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ
ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2)ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 จำแนกตามเพศ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนการจำแนกตามตำแหน่งและวุฒิการศึกษา โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และการจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 พบดังนี้ 1) การสร้างวิสัยทัศน์ด้านดิจิทัล ผู้บริหารสถานศึกษาต้องกำหนดเป้าหมายและวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเพื่อให้เพื่อนร่วมงานได้มีการปรับตัวและติดตามการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลอย่างสม่ำเสมอ 2) การสร้างวัฒนธรรมการทำงานบนโลกดิจิทัล ผู้บริหารสถานศึกษาต้องสร้างวัฒนธรรมการทำงานบนโลกดิจิทัลให้เกิดขึ้นและเป็นที่ยอมรับในโรงเรียน โดยวัฒนธรรมนี้ต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 3) การสร้างแรงจูงใจในการทำงานยุคดิจิทัล ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีกระบวนการทำงานที่ส่งเสริม สร้างแรงจูงใจ ชมเชย ลดอุปสรรคในการทำงาน เพื่องสร้างแรงจูงใจในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 4) การเป็นพลเมืองยุคดิจิทัล ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน บุคลการในโรงเรียน รู้จักใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับหน่วยงานองค์กร มีคุณธรรม จริยธรรม สร้างความตระหนักถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการทำงาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
จิตรา กรมจรรยา. (2557). การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวทางปฏิรูป การศึกษาในทศวรรษที่สอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(4), 36-44.
จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, สำนักพิมพ์ศิริธรรมออฟเซ็ท.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ณัฏฐณิชา พรปทุมชัยกิจ และคณะ. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 15(2), 50-64.
พจนีพร สงกูล. (2557). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
พรทิพย์ สุขเอียด. (2562). คุณลักษณะพึงประสงค์ของผู้บริหารตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ภคพร เลิกนอก. (2563). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(2), 157-161.
สามารถ ฟองศิริ. (2558). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหาสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สุนันท์ ศักดิ์ชัยสมบูรณ์. (2556). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความ คิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี [วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตร์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
สมนึก ชาวสวน .(2564). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 15(1), 54-69.
ศุภมาส วิสัชนา. (2560). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
เอกรัตน์ เชื้อวังคำ. (2564, 25 มีนาคม).“องค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4” การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 22. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อดุลย์เดช พาบุ. (2565). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในทศวรรษที่ 2560 ตามความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(1), 201-212.
อำไพ อุ่นศิริ. (2557). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูจังหวัดนครปฐมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.