การพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหารายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหารายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกู่กาสิงห์ประชาสรรค์ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบบันทึกอนุทินการเรียน แบบวัดทักษะการคิดแก้ปัญหาเป็นแบบปรนัย 2 ชุด ชุดละ 12 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า วงจรปฏิบัติการที่ 1 นักเรียนมีทักษะการแก้ปัญหา คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 33.67 คะแนน มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ประเมินร้อยละ 70 จำนวน 3 คน ของนักเรียนทั้งหมด 15 คน คิดเป็นร้อยละ 20 และวงจรปฏิบัติการที่ 2 กลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินร้อยละ 70 มีทักษะการแก้ปัญหา คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 44.58 คะแนน มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ประเมินจำนวนเพิ่มขึ้น 8 คนรวมเป็น 11 คน จากนักเรียนทั้งหมด 15 คน คิดเป็นร้อยละ 73 นั่นหมายความว่านักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีทักษะการคิดแก้ปัญหาผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551(ฉบับแก้ไขพุทธศักราช 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
จุไรรัตน์ สอนสีดา. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา ที่มีต่อมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. การสอนวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
เดชอุดม ไชยวงศ์คต. (2559). การพัฒนาบทเรียนแบบร่วมมือบนเว็บโดยใช้เทคนิคทีเคโอที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา วิชาการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิมล พงษ์ปาลิต. (2551). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนแบบแก้ปัญหากับการสอนตามคู่มือครู. [ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
สุธาธิณี กรุดเงิน และ พรสิริ เอี่ยมแก้ว. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้บูรณาการแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์และเจตคติต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 16(3), 189-202.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2555). การพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนยุคใหม่เพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ด้วยการบูรณาการไอซีทีในการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการ.
Rutherford, F.J. (1964). The Role of Inquiry in Science Teaching. Journal of Research in Science Teaching, 2(2), 80-84.
Sund, R.B. and Trowbridge, L.W. (1973). Teaching in Science by Inquiry in the Secondary School. 2nd ed. Ohio: Merrill.
Wu H. and Hsieh, C. (2006). "Developing sixth grades' inquiry skills to construct explanations in inquiry-based learning environments," International Journal of Science Education, 28(11), 1298 – 1313.