ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างผู้ถือหุ้น องค์ประกอบคณะกรรมการกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม : หลักฐานเชิงประจักษ์จากตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ

Main Article Content

ชุติมณฑน์ ศรีพวาทกุล
อรุณี ยศบุตร
รัชนียา บังเมฆ
ชัยยศ สัมฤทธิ์สกุล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างผู้ถือหุ้น กับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ 2) เพื่อการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบคณะกรรมการกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ 3) เพื่อทดสอบปัจจัยอาจส่งผลให้เกิดความคลาดเคลื่อนในงานวิจัยกับความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ โดยมีประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ระหว่างปี 2558 - 2560 จำนวนทั้งสิ้น 378 ตัวอย่าง การวิจัยใช้สถิติในการวิเคราะห์คือการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ในการวิจัยในครั้งนี้ได้พัฒนาดัชนีการปฏิบัติตามความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวัดการปฏิบัติความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ


จากผลการวิจัยพบว่า โครงสร้างผู้ถือหุ้น และองค์ประกอบคณะกรรมการมีความสัมพันธ์กับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยการถือหุ้นโดยชาวต่างชาติมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ในส่วนขององค์ประกอบคณะกรรมการมีเพียง 2 ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม คือ สัดส่วนของกรรมการที่ถือหุ้นในบริษัทมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และสัดส่วนของกรรมการเป็นผู้บริหารมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และจากผลการศึกษาปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดความคลาดเคลื่อนในงานวิจัยพบว่ามีเพียงประเภทอุตสาหกรรมที่มีความสัมพันธ์กับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจากผลการศึกษาตัวอย่างในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ระหว่างปี 2558 – 2560 สะท้อนให้เห็นการปฏิบัติความความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลางข้อมูลนี้สามารถใช้เป็นประโยชน์ในส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในอนาคต

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กนกกร บริบูรณ์ และ ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปิดเผยข้อมูลบัญชีสิ่งแวดล้อม ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และ มานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(2), 305-317.

กนกกาญจน์ มาละวรรณา. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

คณะกรรมการกลุ่มความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนามาตรฐานการเรียนการสอนและการวิจัยด้าน บริหารธุรกิจแห่งประเทศไทย. (2555). แนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (พิมพ์ ครั้งที่ 1). https://www.setsustainability.com/download/j29bgqeslyki7tw

จักรวุฒิ ชอบพิเชียร. (2557). ผลกระทบของการดำเนินธุรกิจเป็นกลุ่มบริษัทในเครือที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะการกำกับดูแลกิจการและการเปิดเผยข้อมูลภาคสมัครใจในรายงานประจำปีเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ, 1(1), 85-107.

ชลินธร รู้จำ. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการรายงานความรับผิดชอบต่อสังคมและองค์ประกอบของคณะกรรมการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชื่นกมล สินบางหว้า. (2561). การบัญชีสังคมและความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีต่อความยั่งยืนของบริษัทที่ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(1), 248-258.

ณิชวรรณ วิชัยดิษฐ. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ดลยา ไชยวงศ์, ทัดพงศ์ อวิโรธนานนท์, และ สัตยา ตันจันทร์พงศ์. (2562). อิทธิผลของคณะกรรมการบริษัทที่มีต่อการเปิดเผยข้อมูลรายงานความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 13(3), 76-90.

นรีรัตน์ สันธยาติ, พรชัย ถาวรานนท์, และ สุกิจ กิตติบุญญานนท์. (2563). คู่มือการพัฒนาธุรกิจเพื่อ ความยั่งยืนสำหรับบริษัทจดทะเบียน (พิมพ์ครั้งที่ 1). https://www.setsustainability.com/download/32jt9usirmoqa7w

นฤมล สิทธิเดช. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรายงานความรับผิดชอบต่อสังคมในรายงานประจำปี: กรณีศึกษาบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นวพร พงษ์ตัณฑกุล. (2546). โครงสร้างการเป็นเจ้าของและคุณภาพของการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เนตรชนก พฤกษชาติ. (2563). กลยุทธ์การสื่อสารขององค์กรผ่านกิจกรรมเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรังสิต.

บุษบงกช บุญกุศล. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัท และการเปิดเผยความรับผิดชอบต่อสังคมกับคุณภาพกำไร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พัชราภรณ์ เกลียวแก้ว. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างความเป็นเจ้าของกับการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พิพัฒน์ ยอดพฤติการ. (2563, 4 กรกฎาคม). โฉมหน้า CSR หลังโควิด. กรุงเทพธุรกิจ. https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/650600

ศุกันยา ห้วยผัด. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สานิตย์ หนูนิล. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: กรณีศึกษาองค์กร ภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในเขตกรุง เทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิทยาการจัดการ, 8(1), 17-38.

สิรีนาฏ นาคเลิศ. (2558). อิทธิพลของลักษณะเฉพาะกิจการบนความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแล กิจการกับการเปิดเผยข้อมูลสิ่งแวดล้อมในรายงานประจำปีกรณีศึกษาบริษัทจด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สุธิรา ลิ้มรสเจริญ, ประกายแสง แสงอรุณ, และ มัทนชัย สุทธิพันธุ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะคณะกรรมการและการเปิดเผยข้อมูลสิ่งแวดล้อม:กรณีศึกษาบริษัทที่จดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 16(1), 118-139.

สุภลักษณ์ มานิตศรศักดิ์. (2556). การกำกับดูแลกิจการที่ดีกับการเปิดเผยข้อมูลด้านสังคมและ สิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรพรรณ ใบดีน. (2558). ความสัมพันธ์ของโครงสร้างผู้ถือหุ้น องค์ประกอบคณะกรรมการ และการ เปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์:กรณีศึกษาของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อลิศรา ผลาวรรณ์. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของบริษัทกับระดับการเปิดเผย ข้อมูลของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis. Pearson Education, New Jersey.